| |
---|
ดิเกฮูลูคณะบางปลาหมอ
|
|
ข้อมูลทั่วไป | |
---|
รหัสเรื่องเล่า | 73 |
---|
เรื่อง | ดิเกฮูลูคณะบางปลาหมอ |
---|
หมวดหมู่ | ศิลปะวัฒนธรรม นำชมปัตตานี |
---|
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | เมืองปัตตานี |
---|
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | รูสะมิแล |
---|
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | นริศรา เฮมเบีย (narisara.h) |
---|
วันที่บันทึกข้อมูล | 21/02/2020 |
---|
|
|
---|
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | |
---|
|
|
---|
ข้อมูลเรื่องเล่า | |
---|
รายละเอียดเรื่องเล่า | เดิมหัวหน้าคณะชื่อนายเจ๊ะนุ๊ อีแต อายุ 61 ปี ปัจจุบันเลิกทำการแสดงแล้ว เนื่องจากป่วยเป็นโรคอัมพาต มาได้ 3 ปีแล้ว ต่อมานายอาดำ อาแว ได้มาเป็นผู้จัดการคณะดิเกฮูลูบางปลาหมอ ได้เล่าว่าได้เริ่มสนใจดิเกฮูลูตั้งแต่ตอนอายุ 10 ขวบ โดยนำการปรบมือในคณะฯ ต่อมาได้หัดตีฉิ่ง และตีกลอง ตามลำดับ ในคณะบางปลาหมอมี สมาชิกทั้งหมด 18 คน เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีการประกวดแข่งขันดิเกฮูลู โดยมีผุ้แสดงคณะดิเกฮูลู จากคณะบางปลาหมอไปร่วมแข่งขันด้วย โดยเป็นตัวแทน อำเภอเมืองปัตตานี ไปประกวดแข่งขันดิเกฮูลูในนามคณะดิเกฮูลูบุหงาตานี ชนะการประกวดได้รางวัลที่ 1 ได้เงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท เสื้อผ้าชุดในการแสดง มี 2 ชุด คือสีเขียว และสีชมพู สวมใส่สลับกัน ราคาค่าชุดมีราคาเป็นหมื่นบาท ดิเกฮูลูคณะนี้ จะแสดงตามงานต่างๆ ทั่วไปเช่น งานสมรส และงานของชุมชนต่างๆ งานมหรสพประจำปี เช่น งานศิลปวัฒนธรรมของมอ.วิทยาเขตปัตตานี และงานกาชาดของจังหวัดปัตตานี เป็นต้น
เครื่องดนตรีมี 6 ชิ้น
1. รำมะนาใหญ่ 2. รำมะนาเล็ก 3. โหม่ง ฆ้องใหญ่ หรือ ฆง 4. ลูกแซ็ค 5. ฉิ่ง 6. ฉาบ 7. ขลุ่ย/ปี่ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้
เครื่องดนตรีเดิมเป็นของหัวหน้าวง ต่อมาทางอำเภอเมืองปัตตานีซื้อให้ คณะดิเกฮูลูบางปลาหมอได้รับรางวัลมา 6 ถ้วยรางวัล ปัจจุบันนี้ 3 ปี แล้วคณะฯไม่มีการแข่งขันแล้ว เนื่องจากพบปัญหาในเรื่องความโปร่งใส่ในการให้คะแนนของคณะกรรมการตัดสิน เนื่องจากถ้าเป็นกรรมการที่มาจากพื้นที่ที่มีคณะดิเกฮูลูคณะในพื้นที่ของตนมาแสดงด้วย กรรมการจะไม่ค่อยมีความโปร่งใสในการตัดสินให้คะแนนข้อเสนอแนะของผู้เล่าเสนอว่า จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะเสนอชื่อกรรมการกลางที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในคณะดิเกฮูลูในพื้นที่มีการแข่งขัน
ค่าจ้างในการแสดง
ประมาณ 4,000 – 6,000 บาท/ครั้ง ระยะเวลาในการแสดงแต่ละครั้ง ขึ้นกับค่าจ้างในแต่ละครั้งของการแสดง ครึ่งชั่วโมง ร้อง 1 เพลง /1 ชั่วโมง ร้อง 3 เพลง 2 ชั่วโมง 4-5 เพลง
ขั้นตอนการแสดง
1. เพลงโหมโรง เรียกว่าตาโบ๊ะ ตีกลองอย่างเดียว เรียกผู้ชม แสดงประมาณ 5 นาที
2. เพลงปาตง (ปันตน) ปันตนคือ ฉันทลักษณ์ประเภทหนึ่งของบทกวีภาษามลายู เพลงว่าด้วยกลอนสด ผู้ร้องต้องมีไวพริบในการโต้ตอบกลอนสดโดยมีหัวหน้าคณะร้องนำ และมีลูกคู่ร้องตาม โดยจะว่ากลอนสดตามหัวข้อที่กำหนด เช่น หัวข้อ ในหลวงราชการที่ 9 หัว หัวข้อศิลปวัฒนธรรม แสดงประมาณ 7-10 นาที
3. ขับร้องเพลงสมัยใหม่ จะเลือกร้องเพลงที่สอดคล้องกับงานที่ร่วมแสดง จะร้องกี่เพลง ขึ้นอยู่กับเวลาที่กำหนดในแต่ละครั้งของการแสดง
4. เพลงงาโฆ๊ะ หรือ เพลงกาโฆ๊ะ จะมีเพลงงาโฆ๊ะแยกี
5. ร้องเพลงตามสมัยนิยม
6. เพลงวาบูแล เป็นเพลงบอกลา เพลงกล่าวอำลาผู้ชม และกล่าวอำลากับคณะอีกฝ่าย เพื่อขอโทษ ถ้าหากการแสดงมีสิ่งใดที่บกพร่องและมีความผิดพลาด ไม่ได้เจตนา ก็ต้องขออภัยผู้ชม ณ ที่นี้ด้วย เพราะเป็นการแสดงสด โอกาสหน้าถ้ายังมีชีวิตอยู่เราจะได้พบกันอีก เป็นการทิ้งท้ายของการแสดงในแต่ละครั้ง และจบการแสดงในเวทีนั้นได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับการแสดงในแต่ละครั้ง
จุดเด่นคณะดิเกฮูลู คณะบางปลาหมอ คือมีผู้ชมที่ติดตามการแสดงของคณะบางปลาหมอ และการได้รับรางวัลในการประกวดการแข่งขันดิเกฮูลู
นอกจากนี้ยังมีการแต่งเพลงที่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังเป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจ เมื่อผู้เล่าได้ติดตามข่าวในทุกๆวัน ในช่วงเวลาทำงานตอนเช้าๆ ขณะขับรถเก็บขยะ ทำให้ปิ้งขึ้นมาว่า ต้องแต่งเพลงร้องในดิเกฮูลู เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ เล่าว่าช่วงที่เกิดเหตุการณ์เด็ก 13 คนติดอยู่ในถ้ำหลวงที่จังหวัดเชียงราย ทำให้เมื่อหลายคนฟังเพลงดิเกฮูลูเพลงนี้ชอบและดังไปทั่วเมืองปัตตานี เพลงนี้ มีชื่อว่า Lagu 13 orang แต่งเนื้อร้องและขับร้องโดยแบแด คณะดิเกฮูลูคณะบางปลาหมอ สามารถติดตามรับชมรับฟังได้จาก Utube
|
---|
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | บ้านบางปลาหมอ ต.รูสะมิแล |
---|
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | 2545-2562 |
---|
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย |  |
---|
คำสำคัญ | https://www.youtube.com/watch?v=R7zBZ9mRXF (สื่อประกอบเพลง 13 ชีวิต) ไม่ทราบว่าจะใส่ตรงไหน |
---|
คุณค่า/การต่อยอด | ควรจะมีการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ของพี่น้องชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปเพื่ออนุชนรุ่นหลัง
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | |
---|
ชื่อสถานที่ | คณะดิเกรฮูลูบ้านบางปลาหมอ |
---|
ที่ตั้ง | 84 ม. 2 ต. รูสะมิแล เมือง, ปัตตานี 94000 Map It |
---|
ช่วงเวลาทำการ | ได้ตลอดเวลา
|
---|
ข้อมูลการติดต่อ | สอบถามข้อมูล 0936011432, 0924518949 นายอาดำ อาแว และ นายอัสรี อีแต 0808634592
|
---|
เงื่อนไขและข้อกำหนด | แจ้งล่วงหน้าการแสดงประมาณ 5-7 วัน
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลแหล่งที่มา | |
---|
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | นายอาดำ อาแว |
---|
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | 84 ม. 2 ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี 94000
|
---|
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | ผู้ดูแลและประสานงานคณะดิเกฮูลูบางปลาหมอ
|
---|
วันที่สัมภาษณ์ | 29/11/2019 |
---|
|
|