| |
---|
ดิเกฮูลูคณะบุหงาตานี
|
|
ข้อมูลทั่วไป | |
---|
รหัสเรื่องเล่า | 74 |
---|
เรื่อง | ดิเกฮูลูคณะบุหงาตานี |
---|
หมวดหมู่ | ศิลปะวัฒนธรรม นำชมปัตตานี |
---|
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | เมืองปัตตานี |
---|
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | บาราเฮาะ |
---|
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | นริศรา เฮมเบีย (narisara.h) |
---|
วันที่บันทึกข้อมูล | 21/02/2020 |
---|
|
|
---|
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | |
---|
|
|
---|
ข้อมูลเรื่องเล่า | |
---|
รายละเอียดเรื่องเล่า | ประวัติดิเกฮูลู
นายสตาปา บีแม หัวหน้าคณะบุหงาตานี เล่าว่ามาจากหมู่บ้านกอลอบาฆะ ประเทศมาเลเซีย แถบประเทศมาเลเซียเรียกว่าดิเกบาฆะ ดิเกฮูลูสมัยก่อนเรียกดิเกบาฆะ หรือ ดิเกบลาฆอ ต่อมาเรียกดิเกฮูลู ครั้งหนึ่งสมัยประวัติศาสตร์ปัตตานี มีการจัดงานสมรสบุตรีรายอจาบังตีกอ และได้มีการจัดงานมหรสพใน โดยได้นำดิเกฮูลูจากประเทศมาเลเซียมาแสดงในงานเป็นครั้งแรก รายอจากกรือเซ๊ะได้ส่งการแสดงมะโย่งมาร่วมงาน รายอจากหมู่บ้านกือแด จากยะหริ่งได้ส่งการแสดงซีละ และมีการแสดงมโนราห์เจ๊ะโลงจากโคกโพธิ์ ต่อมารายอจาบังตีกอได้จ้างคณะดิเกบาฆะจากประเทศมาเลเซียมาสอนให้ชาวบ้านที่จาบังติกอ การแสดงดิเกบาฆะสมัยก่อนเพื่อความชนะอย่างเดียว เริ่มการแสดงตั้งแต่เวลา 5 ทุ่ม จนถึงสว่างดวงอาทิตย์ขึ้น การแสดงจะมี 2 ฝ่าย ฝ่ายโต้ และฝ่ายตอบ
นายสตาปา บีแม ได้เข้ามาสู่วงการแสดงดิเกฮูลู เมื่อตอนอายุ 15 ปี ตอนสมัยวัยรุ่นจะไม่มีการแข่งกันเป็นคณะๆเหมือนปัจจุบัน แต่จะแข่งกันในหมู่บ้านชุมชน แข่งกันระหว่าง 2 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐในสมัยนั้น ไม่ได้สนใจการแสดงดิเกฮูลูเลย ที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สมัยนั้นคุณไสว พัฒโน เป็นนายอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ท่านเป็นผู้ก่อตั้งดิเกฮูลูคณะบุหงาตานีขึ้น เพื่อเป็นกระบอกเสียง ในการหาเสียงและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายต่างๆ และเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปให้มาเลือกตั้ง ช่วงนั้นจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดปัตตานี (ส.จ.) เนื่องจากการแสดงดิเกูลูเป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้านที่เขาถึงชุมชนในพื้นที่มากที่สุด เพราะการแสดงที่ขับร้องเนื้อหาเป็นภาษายาวี (ภาษาที่ใช้พูดในชีวิตประจำวันของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) การแข่งขันการแสดงดิเกฮูลูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะบุหงาตานีจะได้รับชัยชนะเสมอ จะมีการแข่งขันดิเกฮูลูในงานกาชาด เป็นงานประจำปีของอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ครั้งหนึ่ง อ. วาที ทรัพย์สิน พาคณะดิเกฮูลูบุหงาตานี จำนวน 20 คนไปแสดงที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมงานฉลอง 200 ปี จังหวัดอุดรธานี ได้รับการต้อนรับและเป็นที่ชื่นชอบจากชาวจังหวัดอุดรธานีเป็นอย่างม๊าก เรียกการแสดงดิเกฮูลูว่าการแสดงชายแดนมาเลเซีย แสดง 5 คืนทั้งเวทีใหญ่ และเวทีเล็ก ชาวจังหวัดอุดรธานี ไม่ได้เข้าใจภาษายาวีที่ขับร้องโต้ตอบกลอนสด แต่ชอบที่ท่าทาง แต่ละท่าที่แสดง เช่น ท่าชักว่าว ในเพลงวาบูแล เป็นต้น ความพร้อมเพรียง ความสามัคคีในการปรบมือ และความสวยงามในท่าท่าง และชุดที่สวมใส่ในการแสดง นอกจากนี้มีอ. เวทีทรัพย์สิน เป็นผู้แปลความหมายเนื้อหาในการแสดงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายสตาปา บีแม หัวหน้าคณะบุหงาตานี ได้ร้องเพลงกลอนโต้ตอบสดๆ เรียกว่า เพลงงาโฆ๊ะ หรือ เพลงกาโฆ๊ะ ตั้งแต่ อายุ 15 ปีแล้ว ผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะ ต้องเก่ง และมีไหวพริบ ในเรื่องต่างๆ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ การแสดงมีการแสดงร้องกลอนสดโต้ตอบ มีเพลงกลอนสดงาโฆ๊ะกลาแต งาโฆะเจ๊ะกี และงาโฆ๊ะตานีง เมื่อการแสดงจบ ต้องร้องเพลงวาบูแล เป็นเพลงกล่าวอำลาผู้ชม และกล่าวอำลากับคณะอีกฝ่าย เพื่อขอโทษ ถ้าหากการแสดงมีสิ่งใดที่บกพร่องและมีความผิดพลาด ไม่ได้เจตนา ก็ต้องขออภัยผู้ชม ณ ที่นี้ด้วย เพราะเป็นการแสดงสด โอกาสหน้าถ้ายังมีชีวิตอยู่เราจะได้พบกันอีก เป็นการทิ้งท้ายของการแสดงในแต่ละครั้ง
ครั้งหนึ่ง อ. วาที ทรัพย์สิน พาคณะดิเกฮูลูบุหงาตานี จำนวน 20 คนไปแสดงที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมงานฉลอง 200 ปี จังหวัดอุดรธานี ได้รับการต้อนรับและเป็นที่ชื่นชอบจากชาวจังหวัดอุดรธานีเป็นอย่างม๊าก เรียกการแสดงดิเกฮูลูว่าการแสดงชายแดนมาเลเซีย แสดง 5 คืนทั้งเวทีใหญ่ และเวทีเล็ก ชาวจังหวัดอุดรธานี ไม่ได้เข้าใจภาษายาวีที่ขับร้องโต้ตอบกลอนสด แต่ชอบที่ท่าทาง แต่ละท่าที่แสดง เช่น ท่าชักว่าว ในเพลงวาบูแล เป็นต้น ความพร้อมเพรียง ความสามัคคีในการปรบมือ และความสวยงามในท่าท่าง และชุดที่สวมใส่ในการแสดง นอกจากนี้มีอ. เวทีทรัพย์สิน เป็นผู้แปลความหมายเนื้อหาในการแสดงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายสตาปา บีแม หัวหน้าคณะบุหงาตานี ได้ร้องเพลงกลอนโต้ตอบสดๆ เรียกว่า เพลงงาโฆ๊ะ หรือ เพลงกาโฆ๊ะ ตั้งแต่ อายุ 15 ปีแล้ว ผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะ ต้องเก่ง และมีไหวพริบ ในเรื่องต่างๆ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ การแสดงมีการแสดงร้องกลอนสดโต้ตอบ มีเพลงกลอนสดงาโฆ๊ะกลาแต งาโฆะเจ๊ะกี และงาโฆ๊ะตานีง เมื่อการแสดงจบ ต้องร้องเพลงวาบูแล เป็นเพลงกล่าวอำลาผู้ชม และกล่าวอำลากับคณะอีกฝ่าย เพื่อขอโทษ ถ้าหากการแสดงมีสิ่งใดที่บกพร่องและมีความผิดพลาด ไม่ได้เจตนา ก็ต้องขออภัยผู้ชม ณ ที่นี้ด้วย เพราะเป็นการแสดงสด โอกาสหน้าถ้ายังมีชีวิตอยู่เราจะได้พบกันอีก เป็นการทิ้งท้ายของการแสดงในแต่ละครั้ง
การแสดงในแต่ละครั้ง จะต้องมีการซ้อม โดยเฉพาะการแสดงในงานกาชาดของจังหวัดปัตตานี นายอำเภอเมืองปัตตตานีจะเรียกให้มาซ้อมที่อำเภอ จะมีผู้ใหญ่บ้าน กำนันของหมู่บ้านต่างๆ ช่วยมาดูการซ้อม และให้คะแนนล่วงหน้า ซึ่งจะต้องให้ได้ชัยชนะเท่านั้นในการแข่งขันในงานกาชาด คณะอื่นๆที่มาแข่งจากต่างอำเภอมา หากทราบว่า จะต้องประชันแข่งดิเกฮูลูกับคณะบุหงาตานีจะต้องขยาดและไม่อยากแข็งขันด้วย เพราะจะรู้ดีว่าแข่งขันแล้วจะต้องแพ้ นายสตาปาบอกว่า การแสดงดิเกฮูลู จะแพ้หรือชนะอยู่ที่การร้องเพลงโต้ตอบกลอนสด ที่เรียกว่า เพลงกาโฆ๊ะ หรือเพลงงาโฆ๊ะ ซึ่งยากม๊ากผู้ร้องจะเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งจะต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาน ความรู้ ความสามารถ ในประวัติของเรื่องราวต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบัน และมีความรู้รอบตัว และประสบการณ์พอสมควร จึงจะสามารถโต้ตอบกันได้สนุกสนาน และมีเนื้อหาสาระ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมผู้ฟัง ซึ่งการจะได้หาคนที่มาร้องเพลงกาโฆ๊ะได้สักคนยากมาก ต้องฝึก และต้องมีความสามารถเฉพาะตัว ตรงนี้ทำให้จะปั้นดาวร้องเพลงกาโฆ๊ะในคณะดิเกฮูลูยากมาก
ค่าตอบแทนในการแสดงทั่วไปแต่ละครั้ง ประมาณ 3,000-5,000 บาท นอกจากการแสดงในงานกาชาดจะได้รับค่าตอบแทนมากขึ้น
การแต่งกาย การแสดงในงานกาชาดทางอำเภอเมืองปัตตานี จะเป็นผู้ดูแลชุดและจัดหาให้นักแสดง หากเป็นการแสดงทั่วๆไป ทางคณะดิเกฮูลูจะเตรียมชุดในการแสดงเอง
เครื่องดนตรีดิเกฮูลู ประกอบด้วย
1. รำมะนาใหญ่ (หรือ บานออีบู)
2. รำมะนาเล็ก (หรือ บานออาเน๊าะ)
3. ฆ้อง 1 วง (หรือ ฆง)
4. โหม่ง (หรือ ม่อง)
5. ฉิ่ง
6. ฉาบ
7. ลูกแซ็ค หรือ เว๊าะลอมา
8. ไม้ไผ่ ใช้เมื่อปรบมือให้จังหวะและทำให้เสียงดัง
9. ปี่ บางคณะมีหรือไม่มีก็ได้
เครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กันในการแสดงในวง เสียงจะมีความไพเราะเพียงใดขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมและความพร้อมเพรียงภายในคณะ
|
---|
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | ต. บาราเฮาะ อ. เมือง จ. ปัตตานี |
---|
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | ต. บาราเฮาะ อ. เมือง จ. ปัตตานี |
---|
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย | |
---|
คำสำคัญ | ศิลปะพื้นบ้าน,สื่อพื้นบ้าน,ดิเกฮูลู |
---|
คุณค่า/การต่อยอด | ควรอนุรักษ์การแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวมุสลิมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดไป
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | |
---|
ชื่อสถานที่ | ต. บาราเฮาะ |
---|
ที่ตั้ง | บ้านเลขที่ 37 ม. 8 ต. บาราเฮาะ เมือง, ปัตตานี 94000 Map It |
---|
ช่วงเวลาทำการ | ตลอดเวลา
|
---|
ข้อมูลการติดต่อ | สอบถามข้อมูล 0937738227
|
---|
เงื่อนไขและข้อกำหนด | ควรแจ้งหรือติดต่อการแสดงประมาณ1 สัปดาห์ -15 วัน
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลแหล่งที่มา | |
---|
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | นายสตาปา บีแม |
---|
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | 37 ม. 8 ต. บาเฮาะ อ. เมือง จ. ปัตตานี 94000
|
---|
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | หัวหน้าคณะดิเกฮูลูบุหงาตานี
|
---|
วันที่สัมภาษณ์ | 23/01/2020 |
---|
|
|