เรื่องราวเล่าขาน ตำนานตานี
กระถางธูป 200 ปี ศรัทธาแห่งชาวจีนเมืองสาย | ||
---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | ||
รหัสเรื่องเล่า | 86 | |
เรื่อง | กระถางธูป 200 ปี ศรัทธาแห่งชาวจีนเมืองสาย | |
หมวดหมู่ | ปรัชญา ศาสนา ศรัทธา และความเชื่อ | |
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | สายบุรี | |
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | ตะลุบัน | |
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | อัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์ (annitta.r) | |
วันที่บันทึกข้อมูล | 24/03/2020 | |
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | ||
พิธีกรรมและของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม | 200 ปี สืบสานตำนานกระถางธูป เกี๊ยวปักดิน มรกดอันทรงคุณค่าของชาวอำเภอสายบุรี | |
เทศกาลที่เกี่ยวข้อง | - | |
ข้อมูลเรื่องเล่า | ||
รายละเอียดเรื่องเล่า | “ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง” หรือ “ศาลเจ้าเล่าเอี๊ยะก๋งสันนิษฐานว่า การเรียกศาลเจ้าว่า “เล่าเอี๊ยะกง” เกิดจากการเรียกเทพเจ้าที่นับถือในบทบาทของนายกับบ่าวรับใช้จนทำให้คนรุ่นหลังคิดว่า “เล่าเอี๊ยะกง” คือ ชื่อศาลเจ้าของเทพเจ้าผู้ตรวจตราแทนฟ้า ตี๋อู้อ๋องเอีย ได้มีการไปอัญเชิญกระถางธูปและไฟจากเมืองจ่วนจิว ประเทศจีน ในรัชสมัยเต้ากวงปีนักษัตรมังกร ธาตุทอง ตรงกับปี พ.ศ. 2363 และตั้งชื่อว่า “จ่ายเฮงเกียง” ชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนจึงให้ความเคารพมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เป็นที่พึ่งพาทางจิตวิญญาณทั้งยังเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีกรรมตามลัทธิความเชื่อของชาวจีนโพ้นทะเลที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในเมืองสายบุรีและจังหวัดข้างเคียง “ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง” นอกจากจะเป็นจุดศูนย์รวมความเชื่อแล้วความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนแล้วยังเป็นสถานที่สำคัญที่ได้เก็บรักษากระถางธูปที่มีพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” ซึ่งเป็นกระถางธูปพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระราชทานให้ในงานพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระปิยะมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองรัชกาลที่เคยเสด็จมาเยี่ยมเยือนศาลเจ้าแห่งนี้ในอดีตอีกด้วย ซึ่งกระถางธูปพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” นี้จะมีอายุครบ 200 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และทุกปีจะมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อสืบสานวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าของชาวอำเภอสายบุรี อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นำมาซึ่งความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ที่ดีงามของชุมชน ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียงมีพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดมาอย่างยาวนานหลายอย่าง เช่น การหามพระปักพื้น การหามเกี้ยวพระหายา หามพระลุยไฟ การลุยทะเล และการทรงเทพเจ้า บ้านเรือนสถาปัตยกรรมจีนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของอารยธรรมจีนอันรุ่งโรจน์ในเมืองสายบุรี สถาปัตยกรรมจีนกับสถาปัตยกรรมฝ่ายตะวันตกและสถาปัตยกรรมมลายูรวมอยู่ในชุมชนย่านคนจีนในเมืองสายบุรีแห่งนี้ ลักษณะบ้านเรือน มีลีกษณะหนึ่งประตูสองหน้าต่างเปรียบเสมือนดวงตาและปากของมังกร กลางบ้านเปิดหลังคาโล่งรับลม และน้ำฝนเปรียบดั่งท้องมังกรคือ คติความเชื่อดั้งเดิมของศาสตร์ฮวงจุ้ยของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ใช้มังกรเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและความอุดมสมบูรณ์ของเจ้าของบ้าน ประตูหน้าบ้านมีลวดลายศิลปะแบบจีนที่ทำจากไม้ 2 แผ่นปิดเข้าหากัน โดยใช้กลอนไม้เข้าลิ้นในการล็อคประตูหน้าบ้านงานไม้เข้าฝักแบบมลายู | |
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | อำเภอสายบุรี | |
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | พ.ศ. 2363 | |
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย | ||
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภท Info Graphics | ||
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทคลิปวิดีโอหรือคลิปเสียง | youtube.com | |
คำสำคัญ | ศาลเจ้า,ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง,เล่าเอี๊ยะกง,ชุมชนคนจีน | |
คุณค่า/การต่อยอด | สามารถต่อยอดทางด้านการเรียนการสอน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และศาสนา เป็นที่จรรโลงใจสำหรับคนที่ศรัทธา | |
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | ||
ชื่อสถานที่ | ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง | |
ที่ตั้ง | ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี, ปัตตานี 94110 Map It | |
ช่วงเวลาทำการ | ทุกวัน | |
ข้อมูลการติดต่อ | สอบถามข้อมูลโทร 084-6917888 | |
เงื่อนไขและข้อกำหนด | - | |
ข้อมูลแหล่งที่มา | ||
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | ธีรพงศ์ แซ่โค้ว | |
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 94110 | |
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | กลุ่มตัวแทนลูกจีนเมืองสาย | |
วันที่สัมภาษณ์ | 15/12/2019 | |