เรื่องเล่าทั้งหมด

เรื่องราวเล่าขาน ตำนานตานี

ขนมลอปะตีแก  
ข้อมูลทั่วไป
รหัสเรื่องเล่า114
เรื่องขนมลอปะตีแก
หมวดหมู่สำรับปัตตานี
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอเมืองปัตตานี
เป็นเรื่องเล่าของตำบลจะบังติกอ
ผู้บันทึกเรื่องเล่าศลิษา เลี่ยมสุวรรณ (salisa.le)
วันที่บันทึกข้อมูล20/10/2020

ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า
ชื่อเมนูอาหารขนมลอปะตีแก
เครื่องปรุงและส่วนประกอบ

ส่วนผสมในการทำขนมลอปะตีแก
1. แป้งข้าวเจ้า
2. ข้าวสารเจ้า
3. มะพร้าวขูด
4. น้ำตาลปี๊บ
5.น้ำตาลตะโหนด
6. น้ำปูนใส พอประมาณ
7. ใบเตย
8. เกลือเม็ด

กรรมวิธี

วิธีการทำขนมลอปะตีแก
1. นำข้าวเจ้ามาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ล้างน้ำเอามาโม่พร้อมใบเตยที่หั่นเตรียมไว้
2. นำแป้ง ใน ข้อ 1 ใส่น้ำปูนใสกรองพักไว้
3. นำกระทะตั้งไฟแล้วใส่แป้ง และน้ำเปล่า หากแป้งข้นให้เติมน้ำสะอาดตามที่ต้องการ
4. ในขณะที่ตั้งไฟ ควรใช้ไฟปานกลางกวนจนกว่าจะสุก แล้วตักใส่ถาดพักไว้ให้เย็น
ขั้นตอนการทำกะทิหน้าขนมลอปะตีแก
1. คั้นกะทิแล้วกรอง ใส่แป้งข้าวเจ้า คนให้เข้ากัน แล้วใส่หม้อตั้งไฟ
2. ใส่เกลือ น้ำตาลกวนจนสุก แล้วยกลงพักไว้
ขั้นตอนการทำน้ำเชื่อมขนมลอปะตีแก
1. นำน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลโตนด และน้ำเปล่า ใส่หม้อตั้งไฟ
2. กวนให้เข้ากัน และเคี่ยวจนสุก แล้วพักไว้
3. ตัดขนมใส่จาน ราดหน้าด้วยกะทิ ใส่น้ำเชื่อม พร้อมรับประทานได้ทันที
อาจารย์จิตติมาเล่าว่า ขนมกระโดดแทงในอดีตมาจากตอนขนมอยู่ในถาดยังไม่ตัดเอาน้ำตาลแว่นที่เป็นกลมๆ มาตัดให้แหลมๆ เอาปลายแหลมดังกล่าวไปปักใส่ในขนม ลักษณะการจับน้ำตาลเป็นสามเหลี่ยม ปักในขนมแล้วยกขึ้น ปักลงคือการแทง น้ำตาลจะละลาย อยากได้ความหวานมากน้อยแค่ไหนก็ใส่น้ำตาลมากน้อยตามที่เราต้องการ น้ำตาลก็จะละลายไปอยู่ด้านล่างซึมอยู่ในเนื้อของแป้ง แล้วนำมาราดด้วยกะทิ

ภูมิปัญญาและความเชื่อ

ขนมลอปะตีแก เรียกตามภาษามลายูว่า "ลมปัตตีกัม" ซึ่งคนในพื้นที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะเรียกกันติดปากว่า "ลอปะตีแก" ซึ่งแปลว่า "กระโดดแทง" เป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่อและอร่อยมีขายทั้งฝั่งไทยและมาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นขนมพื้นบ้านของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีส่วนผสมของใบเตยเป็นสำคัญ ทำด้วยข้าวเจ้า รับประทานกับน้ำตาลแว่น น้ำตาลปี๊บ หรือน้ำหวาน ราดด้วยกะทิ อ.จิติมาเล่าให้ฟังว่าวิธีการทำโดยปกติจะใช้วิธีการกวนๆ เมื่อได้ที่แล้วเทใส่ถาด ตั้งให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นคล้ายๆ ขนมเปียกปูนที่ต่างกัน คือส่วนผสมที่จะใส่ในลอปะตีแก นั่นคือ น้ำตาลสด น้ำตาลเหลว สำหรับราด มาตั้งไฟ ได้รสชาติที่อร่อยมาก ในปัจจุบันจะใช้น้ำตาลแว่นละลายซึ่งรสชาติจะกลมกล่อมน้อยกว่า ความหวานจะคนละแบบ อาจารย์เล่าว่า ขนมกระโดดแทงมาจากตอนขนมอยู่ในถาดยังไม่ตัดเอาน้ำตาลแว่นที่เป็นกลมๆ มาตัดให้แหลมๆ เอาปลายแหลมดังกล่าวไปปักใส่ในขนม ลักษณะการจับน้ำตาลเป็นสามเหลี่ยม ปักในขนมแล้วยกขึ้น ปักลงคือการแทง น้ำตาลจะละลาย อยากได้ความหวานมากน้อยแค่ไหนก็ใส่น้ำตาลมากน้อยตามที่เราต้องการ น้ำตาลก็จะละลายไปอยู่ด้านล่างซึมอยู่ในเนื้อของแป้ง แล้วนำมาราดด้วยกะทิ

ร้านแนะนำ

-


ข้อมูลเรื่องเล่า
รายละเอียดเรื่องเล่า

อาจารย์เล่าว่า ขนมกระโดดแทงมาจากตอนขนมอยู่ในถาดยังไม่ตัดเอาน้ำตาลแว่นที่เป็นกลมๆ มาตัดให้แหลมๆ เอาปลายแหลมดังกล่าวไปปักใส่ในขนม ลักษณะการจับน้ำตาลเป็นสามเหลี่ยม ปักในขนมแล้วยกขึ้น ปักลงคือการแทง น้ำตาลจะละลาย อยากได้ความหวานมากน้อยแค่ไหนก็ใส่น้ำตาลมากน้อยตามที่เราต้องการ น้ำตาลก็จะละลายไปอยู่ด้านล่างซึมอยู่ในเนื้อของแป้ง แล้วนำมาราดด้วยกะทิ

สถานที่เกิดเรื่องเล่าจะบังติกอ
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า-
คำสำคัญลอปะตีแก, ขนมกระโดดแทง
คุณค่า/การต่อยอด

เป็นขนมพื้นบ้านที่สามารถต่อยอดเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นได้


ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ชื่อสถานที่จะบังติกอ
ที่ตั้งจะบังติกอ
ปัตตานี เมือง
Map It
ช่วงเวลาทำการ

-

ข้อมูลการติดต่อ

-

เงื่อนไขและข้อกำหนด

-


ข้อมูลแหล่งที่มา
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ผศ. จิตติมา ระเด่นอาหมัด
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ

จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี

สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง

จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี

วันที่สัมภาษณ์27/05/2020