เรื่องเล่าทั้งหมด

เรื่องราวเล่าขาน ตำนานตานี

ความเป็นอยู่และพหุวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยพุทธ จีน และมุสลิม  
ข้อมูลทั่วไป
รหัสเรื่องเล่า49
เรื่องความเป็นอยู่และพหุวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยพุทธ จีน และมุสลิม
หมวดหมู่ปัตตานีกับวิถีชีวิตสังคมพหุวัฒนธรรม
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอเมืองปัตตานี
เป็นเรื่องเล่าของตำบลอาเนาะรู
ผู้บันทึกเรื่องเล่านูรียะห์ ดาแซ (nuriyah.d)
วันที่บันทึกข้อมูล20/02/2020

ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า

ข้อมูลเรื่องเล่า
รายละเอียดเรื่องเล่า

คุณอรรถพร อารีหทัยรัตนะ เป็นผู้ที่อาศัยอยู่พื้นที่ถนนอาเนาะรู ได้ให้สัมภาษณ์ว่า สมัยก่อนคนส่วนใหญ่ในปัตตานีเป็นชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธจะมีอยู่บางส่วน ซึ่งคนจีนได้อพยพมาปัตตานีประมาณ 500 ปีมาแล้ว คุณอรรถพรได้เล่าว่า ในสมัยนั้นคนจีนเขาอพยพมา เพื่อหนีความยากจน เพราะความเป็นอยู่ของจีนในสมัยนั้นมีความลำบากยากแค้น อีกทั้งหนีเรี่องการปกครองแบบฮ่องเต้ คนจีนที่อพยพมาอยู่ปัตตานี เดิมจะอยู่อำเภอสายบุรี แล้วย้ายมาอยู่อำเภอยะหริ่ง ย้ายมาอยู่กรือเซะ จนปัจจุบันมีการย้ายมาอยู่ที่ถนนอาเนาะรู ซึ่งคนจีนในสมัยนั้นจะมีการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำ โดยลักษณะนิสัยของคนจีนเป็นคนขยัน มีหัวด้านการค้า ส่วนคนมุสลิมที่เดิมอยู่ที่กรือเซะจะมีการย้ายถิ่นฐานมาอยู่จะบังติกอ
ชุมชนจีน (กือดาจีนอ) ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จะมีความเป็นอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ ต่อมารัชกาลที่ 3 ได้ส่งนายปุ่ย แซ่ตัน (หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง) ต้นตระกูลคณานุรักษ์ เป็นผู้นำด้านการค้า มาดูแลคนจีนที่อยู่บริเวณนั้น ในสมัยนั้นผู้คนส่วนใหญ่จะมีอาชีพค้าขาย ในชุมชนจีนจะมีเป็นร้านค้าเล็กๆ จะขายสินค้าประเภทถ้วย จาน ชาม จะมีตลาดเล็กๆตามชุมชน ส่วนคนมาลายูจะขายประเภทอาหารทะเล และผัก ผลไม้พื้นบ้าน มีการค้าขายร่วมกัน และป้ายชื่อร้านในสมัยนั้นจะมีภาษาจีนขึ้นก่อน ตามด้วยภาษาอังกฤษ แต่จะมีคนจีนที่เป็นช่างก่อสร้างด้วยบางส่วน เช่น วังยะหริ่ง คนจีนเป็นคนสร้าง การค้าขายในสมัยนั้น คนจีนจะสามารถพูดภาษามาลายูได้ ทำให้สื่อสารกันเข้าใจ
ในยุคนั้นตระกูลคณานุรักษ์ จะเป็นเถ้าแก่ใหญ่ เวลามีงานเลี้ยง จะมีลูกจ้างที่เป็นมุสลิมมาทำอาหาร แต่ถ้าการทำเหมืองแร่ ลูกจ้างจะเป็นคนจีน เพราะคนจีนเป็นคนขยัน
คุณอรรถพรได้เล่าว่าในสมัยก่อน ถนนฤาดี จะมีทั้งชาวไทยจีน อาหรับ อินเดียซิกข์ อินเดียพุทธ และจะมีบ้านมุสลิม ประมาณ 4 หลัง อาศัยอยู่ร่วมกันได้โดยสงบสุข
การทำกิจกรรมร่วมกันของผู้คนในสมัยนั้น ถึงแม้จะต่างศาสนา ถ้ามีงานรื่นเริงทุกคนจะมีส่วนร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นมิตรต่อกัน แต่จะทำกิจกรรมร่วมกันที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่ผิดหลักกับทางศาสนา ในสมัยนั้นจะมีการละเล่นของคนจีน คือ มีการแสดงงิ้ว ส่วนของคนมาลายู คือ ลิเกฮูลู ซึ่งทุกคนต่างไปดูการแสดงกัน คนมุสลิมก็ไปดูงิ้วเวลามีการจัดแสดงงิ้ว
การสมรสของคนในสมัยนั้น มีการสมรสกันต่างศาสนาด้วย ซึ่งคนจีนก็สมรสกับคนมุสลิมจำนวนมาก คุณอรรถพรได้เล่าว่า ลูกสาวร้านสมเกียรติ ก็เป็นพี่สะใภ้ของตน มีบุตรหนึ่งคน ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาที่เป็นจีน มีชื่อว่า “เสาวลักษณ์” ซึ่งคุณอรรถพรเอง ก็มีลูกสะใภ้เป็นจีน น้องชายสุดท้องของคุณอรรถพรก็มีภรรยาเป็นคนจีน มีหลานเขยเป็นชาวอังกฤษ ทุกคนเข้ารับอิสลามหมด
ส่วนการแต่งกายในสมัยนั้น คนมุสลิมจะยังไม่คลุมหัว (ฮิญาบ) จะใส่ผ้าสไบ สีแดงหรือสีเขียว จะมีลักษณะเป็นผ้าบางๆ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และจะใส่ชุดบานงตอนออกงานรื่นเริง ส่วนผู้ชายจะนุ่งผ้าโสร่ง เสื้อเชิ้ต ตะโละบลางอ และจะใส่ซอเกาะ (หมวกสีดำ) เวลาออกงาน
พาหนะที่ใช้ในการเดินทางในสมัยนั้น เดินกับจักรยานและมีการคมนาคมทางเรือด้วย และมีถีบสามล้อด้วย มีให้เช่า วันละ 5 บาท โดยในยุคนั้นจะมีร้านถีบสามล้ออยู่จำนวนสองร้าน

สถานที่เกิดเรื่องเล่าถนนอาเนาะรู คลองช้าง และอาเนาะซูงา
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า-
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
คำสำคัญอาเนาะรู,พหุวัฒนธรรม,จีน
คุณค่า/การต่อยอด

-

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • ชุมชนกือดาจีนอ

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ชื่อสถานที่ชุมชนจีน
ที่ตั้งถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู, เมืองปัตตานี, ปัตตานี 94000, TH
เมือง, ปัตตานี 94000
Map It
ช่วงเวลาทำการ

-

ข้อมูลการติดต่อ

ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู, เมืองปัตตานี, ปัตตานี 94000, TH

เงื่อนไขและข้อกำหนด

-


ข้อมูลแหล่งที่มา
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์นายอรรถพร อารีหทัยรัตน์
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ

13/1 ถ.มายอ ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี

สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง

ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยนั้นและอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง

วันที่สัมภาษณ์23/12/2019