เรื่องเล่าทั้งหมด

เรื่องราวเล่าขาน ตำนานตานี

เรือนไทยมุสลิม (ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง)  
ข้อมูลทั่วไป
รหัสเรื่องเล่า52
เรื่องเรือนไทยมุสลิม (ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง)
หมวดหมู่สถาปัตยกรรม
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอยะรัง
เป็นเรื่องเล่าของตำบลเมาะมาวี
ผู้บันทึกเรื่องเล่าประทุมรัตน์ รัตน์น้อย (pratomrut.r)
วันที่บันทึกข้อมูล21/02/2020

ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า
รูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี
แรงบันดาลใจในการออกแบบ

เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นปอเนาะเพื่อให้ความรู้ด้านศาสนา ที่มีความสวยงาม ทนทาน ปลอดโปร่ง และปลอดภัย


ข้อมูลเรื่องเล่า
รายละเอียดเรื่องเล่า

เรือนไทยมุสลิมหลังนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2466 ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีลักษณะเป็นบ้านสองชั้น ด้านล่างเปิดโล่ง มองเห็นเสาเรือนแบบไม้ผสมปูน ส่วนชั้นสองเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด ทั้งตัวเรือน ประตู หน้าต่าง ช่องลม และมีความพิเศษที่ต่างจากเรือนอื่นทั่วไป คือ จะมีช่องเล็กๆ เจาะเป็นรูไว้ 3 รู (ตรงกับส่วนตาและปาก) ที่ฝาผนังด้านหน้าตัวเรือน จำนวน 3 จุด เพื่อเอาไว้ส่งแอบดูทหารญี่ปุ่นที่จะบุกมาทำศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ดูแลบ้านและปอเนาะที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยบ้านหลังนี้ได้สร้างมาตั้งแต่รุ่นทวด ตกทอดมาถึงรุ่นคุณตา-ยาย ซึ่งมีลูก 7 คน (แม่ของผู้ให้สัมภาษณ์เป็นลูกสาวคนโต) จนปัจจุบันได้ตกทอดมาจนถึงน้าชาย (เป็นลูกคนท้องของคุณตา-ยาย)
บ้านหลังนี้ได้แบ่งพื้นที่การใช้สอยออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนด้านหน้าเปิดเป็นปอเนาะเพื่อสอนให้ความรู้ด้านศาสนา และส่วนด้านหลังใช้เพื่อเป็นที่อยู่ของเจ้าของบ้าน ในอดีตบ้านหลังนี้มีความยาวมากกว่าปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยมีเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนน จึงทำให้ต้องตัดพื้นที่บ้านส่วนหน้าออกไปส่วนหนึ่ง ส่วนพื้นที่ด้านล่างนั้นมีปลวกแทะ จึงต้องเปลี่ยนจากไม้บางส่วนมาทำเป็นปูนซิเมนต์แทน และเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจากดินเผาแบบเดิมมาเป็นกระเบื้องแบบปัจจุบันแทน
สำหรับเรือนไม้และโครงสร้างหลังคานั้นก็ยังคงสภาพเดิมอยู่ คือมีความโปร่งของช่องลมใต้หลังคา โดยแบ่งเป็นส่วนหน้าของตัวบ้าน จะเป็นการแกะสลักไม้เป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาต่อกันอย่างสวยงาม ส่วนด้านหลังของตัวบ้าน จะใช้แบบไม้ตีแนวนอนและแนวตั้งสลับกันไปมา เพื่อให้สามารถระบายลมได้เป็นอย่างดี
- ระเบียงบ้าน ทำเป็นลูกกรงไม้กั้น เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้ และมีความโปร่ง
- หน้าต่างบ้าน ทำแบบยาวและแบบสั้นคู่กัน เพื่อสะดวกในการใช้งานและรับลมได้ดี ช่องด้านบนของหน้าต่างใส่กระจกเพื่อรับแสง
ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้งานเพื่อเป็นที่พักอาศัยแล้ว แต่เปิดเป็นปอเนาะเพื่อให้ความรู้ด้านศาสนาเพียงอย่างเดียว

สถานที่เกิดเรื่องเล่าเลขที่ 48 หมู่ที่ 4 ต.เมาะมาวี อ.เมือง จ.ปัตตานี
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่าก่อนปี พ.ศ. 2466
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
คำสำคัญสถาปัตยกรรม,บ้านเรือน,ที่พักอาศัย,ปัตตานี,เรือนไทยมุสลิม,ยะรัง
คุณค่า/การต่อยอด

นำมาใช้เป็นต้นแบบการสร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยแบบเรือนไทยมุสลิม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • เรือนไทยมุสลิม (บ้านอาจารย์นิคม และคุณสโรชา อักษรโสภณ)
  • เรือนไทยมุสลิม (บ้านผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติมา ระเด่นอาหมัด)
  • เรือนไทยมุสลิม (บ้านน้องชายคุณสนั่น อาลีอิสเฮาะ)
  • เรือนไทยมุสลิม (บ้านคุณสนั่น อาลีอิสเฮาะ)
  • ปอเนาะนูรุลอิสลาม ปอเนาะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ชื่อสถานที่บ้านเลขที่ 48
ที่ตั้งหมู่ที่ 4
ต.เมาะมาวี, ปัตตานี อ.เมือง
Map It

ข้อมูลแหล่งที่มา
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์นางแวมาสีเราะ กูเตะ
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ

บ้านเลขที่ 48 หมู่ที่ 4 ต.เมาะมาวี อ.เมือง จ.ปัตตานี

สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง

ผู้ดูแลบ้านและปอเนาะ

วันที่สัมภาษณ์11/02/2020