| |
---|
พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี
|
|
ข้อมูลทั่วไป | |
---|
รหัสเรื่องเล่า | 98 |
---|
เรื่อง | พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี |
---|
หมวดหมู่ | แหล่งเรียนรู้ปัตตานีศึกษา |
---|
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | เมืองปัตตานี |
---|
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | รูสะมิแล |
---|
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | กมลทิพย์ หลงหา (kamonthip.i) |
---|
วันที่บันทึกข้อมูล | 02/04/2020 |
---|
|
|
---|
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | |
---|
|
|
---|
ข้อมูลเรื่องเล่า | |
---|
รายละเอียดเรื่องเล่า | คุณภัทรมาส เล่าถึงประวัติ พระธรรมโมลี ซึ่งชื่อเดิมของท่านคือ เกตุ ธรรมรัชชะ อยู่บ้านเลขที่ 2 ถนนยะหริ่ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายเฉ่งเซ่ง ธรรมรัชชะและนางโบ้ยเลี่ยน ธรรมรัชชะ เมื่ออายุ 10 ปี เข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา เป็นรุ่นแรกและศึกษาอยู่จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2460 ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจังและสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค แต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นราชาคณะชั้นธรรม “พระธรรมโมลี” อีกทั้งได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดตานีนรสโมสร จังหวัดปัตตานี เป็นเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะจังหวัด จนถึงปี พ.ศ. 2534 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพญาณโมลี ธรรมวาทีสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ท่านได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2540 สิริรวมอายุได้ 100 ปี 6 เดือน 22 วัน
พระธรรมโมลียังได้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยเป็นแห่งแรกในจังหวัดปัตตานี เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวไทยมุสลิมได้รู้หนังสือไทย และจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาพระพุทธศาสนาตามความสนใจและโดยความสมัครใจ เปิดสอนที่วัดกลาง หรือวัดตานีนรสโมสรในปัจจุบัน
พระธรรมโมลี ซึ่งเป็นผู้มอบเงินให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวนเงิน 2,000,000 บาท โดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบอีก 2,000,000 บาท ได้มอบงวัตถุโบราณและศิลปวัตถุต่างๆ ที่พระธรรมโมลีได้เก็บสะสมไว้ เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ซึ่งมีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 และทำพิธีเปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2531 โดย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี
คุณภัทรมาส เล่าว่า พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ภายในตัวอาคารมี 2 ชั้น กรมศิลปากรเป็นคนเขียนแบบ ภายในอาคารจะมี 3 ห้อง ชั้นแรก ขวามือจะเป็นห้องเหรียญตราและธนบัตร ด้านซ้ายมือจะเป็นห้องเครื่องถ้วย เก็บสะสมเครื่องถ้วยไทย เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป และชั้นด้านบนจะเก็บรวบรมพระพุทธรูป เทวรูป พระเครื่อง และเครื่องใช้ส่วนตัวของพระเทพญาณโมลี เป็นที่เก็บพัดยศพระราชาคณะ ชั้นธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพัดยศแด่พระสงฆ์ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ซึ่งความพิเศษของพัดยศนี้ก็คือเป็นพัดงาสาน มีลักษณะเป็นพัดหน้านางแบบพัดรอง แต่สานด้วยงาช้างที่นำมาทำเป็นเส้นแบนและบางสานกันเป็นพื้นพัด และมีส่วนประกอบอื่น เช่นด้าม ขอบ ยอด และนมพัดซึ่งทำจากงาช้างทั้งหมด
ซึ่งปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังคงอนุรักษ์สภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นเหมือน 30 ปีที่แล้ว หน้าต่างก็ยังคงเดิม เป็นหน้าต่างสมัยโบราณแบบเปิดบานหน้าต่างขึ้นด้านบน โดยหมุนเกียวกลไก โดยให้หน้าต่างทั้ง 4 บานปิดพร้อมกัน ตู้โชว์ทุกตู้ยังคงรักษาแบบเดิมไว้ การว่อมแซ่ม บูรณะสิ่งของในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะทำการตรวจสอบ 2 ปี 1ครั้ง
คุณภัทรมาสเล่าว่า ตลอดระยะเวลา 13 ปี ที่ทำงานดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีผู้คนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ทุกวัน ทั้งนักเรียน นักศึกษา ทั้งในพื้นที่ และ นอกพื้นที่ โดยส่วนมากจะมาเป็นหมู่คณะ สถิติการเข้าชมมากสุด คือ 500 คนต่อวัน
|
---|
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | 181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี |
---|
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | พ.ศ.2534 - พ.ศ.ปัจจุบัน |
---|
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย | |
---|
คำสำคัญ | วัดตานีนรสโมสรม, พระเทพญาณโมลี, พัดยศพระราชาคณะ |
---|
คุณค่า/การต่อยอด | มีคุณค่าทางศาสนา และทางสังคมทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้ถึงประวัติเกี่ยวกับพระพุทธรูป เทวรูป พระเครื่อง และเครื่องใช้ส่วนตัวของพระเทพญาณโมลี
|
---|
เรื่องที่เกี่ยวข้อง | - วัดตานีนรสโมสร
- แหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา สมัยโต๊ะครูฮัจยีสุหลง
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | |
---|
ชื่อสถานที่ | พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี |
---|
ที่ตั้ง | 181 หมู่ที่ 6 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง, ปัตตานี 94000 Map It |
---|
ช่วงเวลาทำการ | วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9.00 -16.00 น.
ปิดวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขตฤกษ์
|
---|
ข้อมูลการติดต่อ | โทรศัพท์/โทรสาร 073-331250
อีเมล์ : culture.pn@g.psu.ac.th
เฟสบุ๊ค : พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ม.อ.ปัตตานี
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลแหล่งที่มา | |
---|
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | นางภัทรมาส พรหมแก้ว |
---|
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
เบอร์ภายใน 1479
|
---|
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | นักวิชาการอุดมศึกษา ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ยาวนานนับ 10 ปี
|
---|
วันที่สัมภาษณ์ | 18/03/2020 |
---|
|
|