กษัตริยาแห่งปัตตานี | ||
---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | ||
รหัสเรื่องเล่า | 109 | |
เรื่อง | กษัตริยาแห่งปัตตานี | |
หมวดหมู่ | โบราณคดีและประวัติศาสตร์ | |
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | เมืองปัตตานี | |
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | ตันหยงลุโล | |
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | จุฑารัตน์ ปานผดุง (jutarut.k) | |
วันที่บันทึกข้อมูล | 21/09/2020 | |
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | ||
ข้อมูลเรื่องเล่า | ||
รายละเอียดเรื่องเล่า | เมื่อสุลต่านปาติกสยามหรือกุมารสยามได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองปัตตานีตั้งแต่ยังเด็กตามคำสั่งเสียของสุลต่านมันโซร์ (น้าชาย) พี่ชายต่างมารดาไม่พอใจ จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน สุลต่านปาติกสยามจึงถูกฆาตกรรม และต่อมาพี่ชายก็ถูกฆาตกรรมเช่นกัน ลูกชายของสุลต่านมันโซร์จึงได้ขึ้นครองราชย์ แต่ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็เสียชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงหารัชทายาทที่่เป็นผู้ชายเพื่อขึ้นสืบทอดต่อไม่ได้ จึงมีการประชุมกันให้แต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นผู้หญิง เนื่องจากกล่าวกันว่า หากให้สามัญชนมาเป็นเจ้าเมือง บ้านเมืองจะไม่สงบ จึงต้องแต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นรัชทายาท เมื่อไม่มีรัชทายาทผู้ชาย ก็อนุโลมให้แต่งตั้งผู้หญิงในตระกูลเป็นเจ้าเมืองแทน จึงมีเจ้าเมืองผู้หญิงติดต่อกันถึง 4 องค์ รายาฮิเยา เป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกแห่งปัตตานี สมัยรายาฮิเยาครองราชย์ ปัตตานีมีความเจริญรุ่งเรืองสุดขีด มีต่างชาติชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายเป็นชาติแรก อาณาจักรมลายูเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เมื่อรายาฮิเยาสิ้นพระชนม์ รายาบีรูซึ่งเป็นน้องสาวก็ขึ้นครองราชย์แทน ตามด้วยรายาอูงู และรายากูนิง | |
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | เมืองปัตตานี | |
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | พ.ศ. 1584-1686 | |
คำสำคัญ | เจ้าเมืองปัตตานี,กษัตริยา, รายา | |
คุณค่า/การต่อยอด | เรียนรู้ประวัติศาสตร์ปัตตานี | |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง |
| |
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | ||
ที่ตั้ง | ปัตตานี Map It | |
ข้อมูลแหล่งที่มา | ||
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | นายแวฮารน แวมามะ | |
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | 42/12 ถนนหน้าวัง ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี | |
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | บุคคลที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ปัตตานี | |
วันที่สัมภาษณ์ | 13/01/2020 | |