| |
---|
กริช
|
|
ข้อมูลทั่วไป | |
---|
รหัสเรื่องเล่า | 14 |
---|
เรื่อง | กริช |
---|
หมวดหมู่ | วิถีแห่งผ้าและอาภรณ์ |
---|
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | เมืองปัตตานี |
---|
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | จะบังติกอ |
---|
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | กลสมรรถ พจนาวาณิชย์ (kolsmat.p) |
---|
วันที่บันทึกข้อมูล | 12/02/2020 |
---|
|
|
---|
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | |
---|
ที่มา หรือ แรงบันดาลใจของแบบหรือลายผ้า | ไม่มี
|
---|
วิธีการใช้งาน | เป็นเครื่องหมายในการบอกฐานะ ยศ และเป็นอาวุธไว้ป้องกันตัว
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลเรื่องเล่า | |
---|
รายละเอียดเรื่องเล่า | กริชปัตตานี ที่ผลิตในปัตตานีนั้น มักทำฝักด้วยไม้ บางครั้งจะเรียกว่า กริชปกากะหรือ กริชปกากา เพราะด้ามจะคล้ายหัวนก พังกะ ตากริชจะยาวกว่ากริชอื่น ที่มีขนาดเดียวกัน ส่วนประกอบจะมีด้วยกัน 3 ส่วน คือ ด้ามหรือหัว (ฮูลู) ใบหรือตา (มาตา) และฝัก (ซารง) กริชจะมีหลายแบบหลากหลายชนิด มีแบบใบคดและไม่คด มีคดน้อยจนถึงหลายๆคด และมีความยาวไม่เท่ากัน ด้ามของกริชสามารถหมุนได้ กริชปัตตานีเดิมจะดูได้จากกริชที่มีกระดูกสันหลัง
กริชเองจะเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงสถานะผู้ครอบครองได้ 3 สถานะว่า 1.แสดงฐานะทางสังคม 2.บ่งบอกว่าเป็นคนมีฐานะ 3.บอกถึงยศฐาบันดาศักดิ์ บางแห่งว่า รอยคดของกริชจะบ่งบอกถึงว่าผู้ที่ครบครองกริชเล่มนั้นมียศฐาบันดาศักดิ์สูงแค่ไหน แต่กริชปัตตานีไม่ได้มีความเชื่อเช่นนั้น
กริชแต่ละเล่มในสมัยก่อนจะใช้เวลาทำเป็นปีๆ เนื่องด้วยกริชแต่ละเล่มจะทำขึ้นเพื่อเจ้าของที่มาสั่งทำเท่านั้น จะต้องดู วัน เดือน ปีเกิด ของคนสั่งทำ และจะต้องมี 3 ป ที่เกี่ยวกับการทำกริช คือ ปากู ปาจ๊ะ ปายง เพราะกริชแต่ละด้ามในสมัยก่อนจะมีจิตวิญญาณของผู้ที่ทำลงไปด้วย ในปัจจุบันไม่มีการใช้จิตวิญญาณแล้วด้วยหลักของศาสนาจึงไม่สามารถทำได้ กริชในปัจจุบันจึงเป็นแค่กริชที่ทำมาเพื่อประดับเท่านั้น กริชยังมีความเชื่อในเรื่องการพกไปค้าขายจะส่งเสริมให้ขายของดี หรือพกเพื่อเป็นเครื่องปกป้องภัย เวลามีฟ้าฝนสามารถปัดเป่าให้เบาลงได้
มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่อาจารย์เล่าว่า “เคยมีเจ้าเมืองอยากได้กริชสักเล่มเป็นกริชไว้แทงคนจึงไปสั่งช่างทำกริชว่าอยากได้กริชแทงคน ช่างก็ได้ทำมาให้เจ้าเมือง แต่ช่างได้ทำด้ามของกริชเป็นแค่ไม้ไผ่งอสวมไว้ ทำให้เจ้าเมืองไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงโยนกริชเล่มนั้นลงไปในสระน้ำข้างๆ แต่พอกริชเล่มนั้นตกลงไปในสระน้ำนั้น กริชกลับเดินได้วนไปมา เจ้าเมืองตกใจจึงถามช่างทำกริชว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ช่างทำกริชจึงบอกว่าเจ้าเมืองอยากได้กริชไว้ใช้แทงคนไม่ใช่หรือก็นี่ไงถ้าชักกริชเล่มนี้ออกมากริชก็จะต้องได้กินเลือด แต่ที่จริงคือกริชเล่มนั้นลงไปปักหัวป่าช่อนตัวใหญ่ในสระน้ำพอดี จึงหมายถึงว่าถ้ามันออกจากฝักจะต้องได้กินเลือดเพราะเจ้าเมืองบอกว่าจะทำไว้แทงคน”
|
---|
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี |
---|
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | ไม่แน่ชัด |
---|
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย | |
---|
คำสำคัญ | - |
---|
คุณค่า/การต่อยอด | การจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแสดงกริชและลวดลายของกริชปัตตานี
|
---|
|
|
---|
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | |
---|
ที่ตั้ง | ปัตตานี Map It |
---|
|
|
---|
ข้อมูลแหล่งที่มา | |
---|
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | นายแวฮารน แวมามะ |
---|
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | 42/12 ถนนหน้าวัง ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
|
---|
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | ผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงในช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า
|
---|
วันที่สัมภาษณ์ | 19/12/2019 |
---|
|
|