เรื่องเล่าทั้งหมด

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง  
ข้อมูลทั่วไป
รหัสเรื่องเล่า22
เรื่องศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง
หมวดหมู่แหล่งเรียนรู้ปัตตานีศึกษา
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอยะหริ่ง
เป็นเรื่องเล่าของตำบลตะโละกาโปร์
ผู้บันทึกเรื่องเล่าอัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์ (annitta.r)
วันที่บันทึกข้อมูล15/02/2020

ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า

ข้อมูลเรื่องเล่า
รายละเอียดเรื่องเล่า

เมื่อปี พ.ศ. 2536 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระนามในขณะนั้น “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนยะหริ่ง จึงมีพระราชดำริให้ก่อตั้งเป็นโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง โครงการนี้จัดตั้งในปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2542 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนามในขณะนั้น “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รัชกาลที่ 9” ทรงเสด็จและเยี่ยมโครงการ ทรงปลูกต้นตะบูนดำไว้เป็นที่ระลึกด้วย
การมาศึกษาเรียนรู้ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่งจะมีวิทยากรให้ความรู้ และนำชมทัศนียภาพและพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่างๆ ซึ่งพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่นี่จะมีความหลากหลาย อีกทั้งยังมีสัตว์ เช่น ลิงแสม จำนวนมากในพื้นที่นี้ เพราะป่าชายเลนยะหริ่งถือเป็นป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่เกิดการร่วมมือในการดูแลของศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน หรือเรียกอีกอย่างว่า “หน่วยที่ 39” ซึ่งหน่วยที่ 39 จะเป็นผู้ดูแลป่าชายเลนทั้งหมดของจังหวัดปัตตานี และมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของพันธุ์ไม้ คือการจะใช้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้ต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไปถึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ และผลกระทบของการทำลายป่านำไปสู่การสูญเสียมากมาย เป็นต้น พันธุ์ไม้ที่เป็นจุดเด่นของป่าชายเลนที่นี่จะเป็น ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นตะบูนดำ ตาตุ่มทะเล ซึ่งก่อนหน้าคนในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนได้ แต่ก่อนป่าชายเลนที่สมบูรณ์มีพื้นที่สองล้านกว่าไร่ก็ลดลงเหลือล้านกว่าไร่ จึงมีมติจากรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2545 ห้ามมิให้ตัดไม้ทำลายป่าโดยเด็ดขาด หากพื้นที่ไหนต้นไม้มีความทรุดโทรมก็จะปลูกทดแทน อีกทั้งป่าชายเลนยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น คนที่อยู่อาศัยบริเวณป่าชายเลนสามารถใช้ประโยชน์ทำประมงหมู่บ้าน สามารถที่จะหากุ้ง หอย ปู ปลา ที่นี่จึงเป็นวัฏจักรห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์

สถานที่เกิดเรื่องเล่าศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่าพ.ศ. 2539
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภท Info Graphicsสื่อประกอบเรื่องเล่าประเภท Info Graphics
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทคลิปวิดีโอหรือคลิปเสียงyoutube.com
คำสำคัญป่าชายเลน,ศูนย์เรียนรู้,แหล่งเรียนรู้,ธรรมชาติ
คุณค่า/การต่อยอด

สามารถต่อยอดทางด้านการเรียนการสอนในการศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติป่าชายเลน พืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนที่สนใจมาศึกษาดูงาน เป็นแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของจังหวัดปัตตานี


ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ชื่อสถานที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง
ที่ตั้งหมู่ที่ 2 ตำบลโละกาโปร์
ยะหริ่ง, ปัตตานี 94150
Map It
ช่วงเวลาทำการ

เปิดทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.

ข้อมูลการติดต่อ

สอบถามข้อมูลโทร 089-2987656

เงื่อนไขและข้อกำหนด

-


ข้อมูลแหล่งที่มา
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์มารียัม สาเหาะ และวรวุฒิ พิทักษ์สันติกุล
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ

ตำบลโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 94150

สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง

เจ้าหน้าที่ดูแลโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน จังหวัดปัตตานี

วันที่สัมภาษณ์02/12/2019