เรื่องเล่าทั้งหมด

มัสยิดโบราณ บาโงยลางา  
ข้อมูลทั่วไป
รหัสเรื่องเล่า30
เรื่องมัสยิดโบราณ บาโงยลางา
หมวดหมู่โบราณคดีและประวัติศาสตร์
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอโคกโพธิ์
เป็นเรื่องเล่าของตำบลทรายขาว
ผู้บันทึกเรื่องเล่าอัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์ (annitta.r)
วันที่บันทึกข้อมูล16/02/2020

ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า

ข้อมูลเรื่องเล่า
รายละเอียดเรื่องเล่า

มัสยิดโบราณ บาโงยลางา : “มัสยิดนัจมุดดิน” หรือที่เรียกขานกันว่า “มัสยิดบาโงยลางา” (คำว่า “บาโงย” เป็นภาษามลายู หมายถึง ควนหรือเนิน ส่วนคำว่า “ลางา” แปลว่า การปะทะ สถานที่แห่งนี้คือส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามในครั้งนั้น) ปัจจุบันมีมัสยิด 2 หลัง เนื่องจากประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องสร้างหลังใหม่ขึ้นมา โดยมัสยิดหลังเก่าผู้ออกแบบคือ เจ้าอาวาสวัดทรายขาวในสมัยนั้น ด้วยเหตุผลของความเชื่อถือของคนในชุมชน อีกเหตุผลคือยุคนั้นยังไม่มีใครรับรู้ถึงสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ชาวบ้านเลยมอบภารกิจนี้ให้ก่อนที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านเคยรับอิสลามมาก่อน โดยแต่งงานกับหญิงมุสลิม แต่หลังภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงบวชที่วัดทรายขาวและกลายมาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเล่ากันว่าท่านเองก็ไม่รู้เรื่องศิลปกรรมแบบอิสลามเลยมัสยิดแห่งนี้สร้างด้วยไม้แค (ไม้เนื้อแข็ง) และไม้ตะเคียน ตัดมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ใช้หวายแทนเชือกมัดแล้วลากลงมาจากเขา จากนั้นใช้ขวานถากซุงให้เป็นเสาสี่เหลี่ยม ส่วนกระเบื้องมุงหลังคาทำจากอิฐแดงที่นำมาจากจากบ้านตาระบาตอ ต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี ที่โดดเด่นคือ โครงสร้างมัสยิดทั้งหลังไม่ใช้ตะปู เพียงใช้ไม้เป็นสลักยึด “มัสยิดบาโงยลางา” จึงถือเป็นมัสยิดร่วมสมัย ลักษณะคล้ายกับศาลาการเปรียญและเป็นสถาปัตยกรรมเดียวกับ “มัสยิดตะโละมาเนาะ” (วาดิอัลอุเซ็น อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส) และ “มัสยิดเอาห์” (บ้านนัดตันหยง ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง)ในพื้นที่ยังมี “บ่อน้ำโบราณ” “กลอง” หรือ “นางญา” ที่ใช้ในการตีบอกเวลาละหมาดหรือเตือนภัยเมื่อมีเหตุร้าย จุดเด่นอยู่ที่ลิ้นทำจากไม้ไผ่ ซึ่งอยู่ภายในตัวกลอง เมื่อมีคนมาตีกลองไม้ไผ่เหล่านี้จะสั่น ทำให้เสียงไพเราะและดังก้องกังวานไกลไปถึงรัศมีกว่า 3 กิโลเมตร เรื่องเล่าที่เกิดจากการก่อสร้างว่า มัสยิดแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2177 รัชสมัยราชินีราตูอูงู บิน สุลต่านมันซูรซาร์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชอาณาจักรปัตตานีดารุสลาม (พ.ศ. 2167- พ.ศ. 2178) หลังสงครามระหว่างปัตตานีดารุสสลามกับกรุงศรีอยุธยา จนเกิดวีรกรรมอันกล้าหาญของ “โต๊ะหยาง” หญิงแห่งบ้านบาโงยลางา ช่วงที่ต้องหนีภัยสงคราม ท่านได้พลัดตกลงในหุบเหวเป็นเวลาหลายวัน หลังสงครามชาวบ้านได้เข้าไปช่วยเหลือ แต่ต้องตะลึง! เมื่อพบกับสิ่งที่ท่านกอดไว้แน่นตลอดเวลา นั่นคือ “คัมภีร์อัล-กุรอ่าน” อายุกว่า 900 ปี ที่เขียนด้วยลายมือ ปกทำจากเปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์ ปัจจุบันคัมภีร์เล่มนี้ถูกเก็บไว้อย่างดี ณ มัสยิดโบราณนัจมุดดิน และบ่อน้ำโบราณ สามารถดื่มได้ เป็นบ่อน้ำที่สามารถเลี้ยงคนในตำบลได้ทั้งหมด บ่อน้ำแห่งนี้ไม่เคยเหือดแห้งไม่ว่าฤดูกาลใดก็ตาม

สถานที่เกิดเรื่องเล่าตำบลทรายขาว
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่าพ.ศ. 2177
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
  • สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภท Info Graphicsสื่อประกอบเรื่องเล่าประเภท Info Graphics
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทคลิปวิดีโอหรือคลิปเสียงyoutube.com
คำสำคัญโบราณสถาน,มัสยิด 300 ปี ทรายขาว,มัสยิดบาโงยลางา
คุณค่า/การต่อยอด

สามารถต่อยอดทางด้านการเรียนการสอน สำหรับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงบุคคลที่สนใจในด้านของประวัติศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรม และความเก่าแก่ของสถานที่นี้ได้


ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ชื่อสถานที่มัสยิดนัจมุดดีน
ที่ตั้งบ้านควนลังงา หมู่ 4 ตำบลทรายขาว
โคกโพธิ์, ปัตตานี 94120
Map It
ช่วงเวลาทำการ

ทุกวัน

ข้อมูลการติดต่อ

ดลฮาฟ สาหลำสุหรี (อีหม่ามประจำมัสยิดทรายขาว) และสมาน ศรีปูเตะ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตำบลทรายขาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 – 2547
ดำรงตำแหน่งกำนัน ตำบลทรายขาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน สอบถามข้อมูลโทร 086-2899595

เงื่อนไขและข้อกำหนด

-


ข้อมูลแหล่งที่มา
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ดลฮาฟ สาหลำสุหรี และสมาน ศรีปูเตะ
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ

บ้านควนลังงา หมู่ 4 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94120

สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง

ดลฮาฟ สาหลำสุหรี (อีหม่ามประจำมัสยิดทรายขาว) และสมาน ศรีปูเตะ (กำนันสมาน)

วันที่สัมภาษณ์02/11/2019