มัสยิดแห่งความร่วมมือ ร่วมใจ | ||
---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | ||
รหัสเรื่องเล่า | 35 | |
เรื่อง | มัสยิดแห่งความร่วมมือ ร่วมใจ | |
หมวดหมู่ | สถาปัตยกรรม | |
เป็นเรื่องเล่าของอำเภอ | ยะหริ่ง | |
เป็นเรื่องเล่าของตำบล | บางปู | |
ผู้บันทึกเรื่องเล่า | อัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์ (annitta.r) | |
วันที่บันทึกข้อมูล | 17/02/2020 | |
ข้อมูลจำเพาะประจำเรื่องเล่า | ||
รูปแบบสถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมร่วมสมัยทั้งไทย อาหรับ และมาเลเซีย | |
แรงบันดาลใจในการออกแบบ | แรงบันดาลใจในการออกแบบมัสยิดอัตตะอาวุนนี้ต้องการให้เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยทั้งไทย อาหรับ และมาเลเซีย | |
ข้อมูลเรื่องเล่า | ||
รายละเอียดเรื่องเล่า | คุณอิสมาแอ ลาเตะ เล่าว่า ตำบลบางปูสมัยก่อนมีเด็ก ๆภายในหมู่บ้านมาเรียนตาดีกาที่มัสยิดเมื่อถึงเวลาละหมาดจึงมีทั้งประชากรในหมู่บ้านและเด็กที่มาเรียนตาดีกา มัสยิดเลยดูคับแคบไป ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจึงประชุมหารือกับโต๊ะอีหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดเพื่อที่จะต่อเติมมัสยิดให้ใหญ่ขึ้นแต่ประชากรในบางปูก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงคิดว่าควรหาทางซื้อพื้นที่ เพื่อจะสร้างมัสยิดหลังใหม่และใช้มัสยิดหลังเดิมเป็นที่เรียนตาดีกาสำหรับชุมชน ซึ่งมัสยิดหลังใหม่นี้ คุณอาชิ ดาราแม โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดอัตตะอาวุน เล่าว่า ตามที่ผู้ใหญ่และคณะกรรมการมัสยิดได้หารือกันไว้ว่าจะหาพื้นที่และสร้างมัสยิดหลังใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนของผู้ที่มาประกอบศาสนากิจ มัสยิดหลังใหม่นี้เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 สร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนสำหรับประกอบศาสนกิจ ส่วนชั้นล่างทำเป็นห้องประชุม สถานีวิทยุ ที่อาบน้ำละหมาด เป็นต้น มัสยิดอัตตะอาวุนเป็นมัสยิดที่ใช้ไปสร้างไปตามเจตนาเดิมที่จะสร้างให้ใหญ่เพื่อรองรับคนให้เยอะตามที่ตั้งใจไว้ จึงไม่มีกำหนดการที่ชัดเจนว่ามัสยิดจะสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อไร ชาวบ้านและอีหม่ามก็ทุ่มเททั้งพลังกาย พลังศรัทธา และกำลังทุนเพื่อที่จะสร้างมัสยิดอัตตะอาวุน ต่อมามีพี่น้องชาวมาเลเซีย ติดต่อโต๊ะอีหม่ามเพื่อที่จะทราบว่าต้องใช้งบประมาณอีกเท่าไรกว่าจะสร้างมัสยิดเสร็จจะได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือให้มัสยิดเสร็จโดยเร็ว “มัสยิดอัตตะอาวุน” แปลว่า การร่วมมือร่วมใจกันเพราะทุกคนและหลายประเทศให้การสนับสนุน เช่น โดมก็นำมาจากประเทศมาเลเซีย ไม้ที่ทำแผ่นป้ายคำสำคัญในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ก็นำมาจากประเทศลาว เป็นต้น มัสยิดอัตตะอาวุนเป็นมัสยิดที่สร้างนานที่สุด ระยะเวลาในการสร้างดำเนินมากว่า 30 ปี แต่ยังไม่เสร็จแต่เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านเพราะเป็นการร่วมมือร่วมใจกันสร้างขึ้นมา | |
สถานที่เกิดเรื่องเล่า | มัสยิดอัตตะอาวุน | |
ช่วงเวลาที่เกิดเรื่องเล่า | พ.ศ. 2530 | |
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทภาพถ่าย | ||
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภท Info Graphics | ||
สื่อประกอบเรื่องเล่าประเภทคลิปวิดีโอหรือคลิปเสียง | youtube.com | |
คำสำคัญ | มัสยิดบางปู,มัสยิดแห่งความร่วมมือ ร่วมใจ,สถาปัตยกรรม,มัสยิด,อัตตะอาวุน | |
คุณค่า/การต่อยอด | สามารถต่อยอดทางด้านการเรียนการสอน สำหรับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงบุคคลที่สนใจในด้านของประวัติศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรม และความเก่าแก่ของสถานที่นั้น ๆ ได้ | |
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ | ||
ชื่อสถานที่ | มัสยิดอัตตะอาวุน | |
ที่ตั้ง | ตำบลบางปู ยะหริ่ง, ปัตตานี 94150 Map It | |
ช่วงเวลาทำการ | เปิดทุกวัน | |
ข้อมูลการติดต่อ | สอบถามข้อมูลโทร 081-9570447 | |
เงื่อนไขและข้อกำหนด | - | |
ข้อมูลแหล่งที่มา | ||
ชื่อ-สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ | อิสมาแอ ลาเตะ และอาชิ ดาราแม | |
ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อ | ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 94150 | |
สถานภาพหรือความสำคัญที่ได้มาเป็นคนเล่าเรื่อง | อิสมาแอ ลาเตะ ดำรงตำแหน่งประธานอาสาอนุรักษ์ป่าชายแลน อายุ: 54 ปี | |
วันที่สัมภาษณ์ | 23/11/2019 | |