วิถีชีวิต

ความเป็นอยู่

ชุมชนมลายูจะบังติกอ เป็นชุมชนดั้งเดิมของปัตตานี มีเจ้าเมืองอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้มีสถานที่โบราณคงเหลือให้เราได้ชื่นชมศึกษาและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ในพื้นที่ตำบลจะบังติกอ จะประกอบไปด้วย 4 ชุมชน คือชุมชนตะลุโบะ ชุมชนตะบังติกอ(วังเก่า,ชุมชนจะบังติกอ(ริมคลอง),ชุมชนตะบังติกอ(วอกะห์เจะหะ) ลักษณะเป็นชุมชนเมือง อยู่ในเขตเทศบาล ชาวบ้านเล่าว่าในสมัยก่อนผู้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ทุกครัวเรือนสามารถไปมาหาสู่กันง่าย อยู่เสมือนญาติพี่น้อง แต่ในปัจจุบันความเป็นชุมชนเมืองเข้ามา ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันมีความห่างเหินกัน อยู่กันแบบบ้านใครบ้านมัน บ้างครั้งไม่เคยเจอเพื่อนบ้านเลยทั้งสัปดาห์

อาชีพ

ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เช่น ค้าขายของทั่วไปตามบ้าน เปิดบ้านทำร้านขายข้าว เป็นพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดในเมือง และบางส่วนจะประกอบอาชีพลูกจ้าง ข้าราชการ

การแต่งกาย

ด้วยชุมชนเป็นชุมชนมลายู และเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมือง ซึ่งเจ้าเมืองได้มีการเดินทางเข้าออกประเทศ ไปประเทศมาเลเซีย (ในปัจจุบัน) อยู่บ่อย จึงได้รับอิทธิพลการแต่งตัวแบบมลายู ผู้ชายจะสวมผ้าโสร่งลายขวาง ชิ้นเดียว จะมีผ้าโผกหัวเรียกว่า ผ้าลือปัส เอาไว้ใช้ได้สารพัดประโยชน์ ส่วนผู้หญิงจะสวมผ้าโสร่งลายดอกไม้ สวมเสื้อทรงบันดง มีผ้าโพกหัวบ้าง ไม่โพกหัวบ้าง แล้วแต่ความนิยมแต่ละบ้าน แต่ในปัจจุบันการแต่งกายจะแต่งกายตามความนิยมแต่ละช่วงสมัย

ภาษาและวรรณกรรม

ชุมชนจะบังติกอจะประกอบไปด้วยผู้คนที่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษามลายูถิ่น ใช้พูดหรือสื่อสารในชีวิตประจำวันทั่วไป และจะใช้สื่อสารกันในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามกันโดยส่วนมาก มีสำเนียงเฉพาะของเมืองปัตตานี คือ สำเนียงฮีเล หมายถึง ปลายน้ำ ซึ่งสำเนียงปัตตานีมี 2 สำเนียง คือ สำเนียลฮูลู หมายถึง ต้นน้ำ และสำเนียงฮีเล หมายถึง ปลายน้ำ