เรื่องเล่าปัตตานี

แหล่งการเรียนรู้จริงๆก็คงเป็นมัสยิด ปอเนาะ และมัสยิดที่เก่าแก่แห่งรัฐปัตตานี คือ มัสยิดรายอฟาฏอนี เริ่มก่อสร้างเมื่อสมัยเมืองปัตตานีเป็นเมืองหรือรัฐปัตตานี มีเจ้าเมืองปกครองตนเอง คือ สุลต่านมูฮัมหมัด หรือ ตนกูบือซาร์ หรือ ตนกูปะสา เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ช่วงประมาณ พ.ศ. 2388-2399 ได้ทรงเริ่มสร้างมัสยิดประจำเมืองปัตตานี ในสมัยตนกูปูเต๊ะฮฺ พ.ศ. 2399-2424 เดิมเป็นสุเหร่าอาคารไม้ สร้างในรั้ววัง ต่อมาได้ย้ายมาสร้างเป็นอาคารถาวร ณ ที่ปัจจุบัน
ประวัติดิเกฮูลู นายอานูบี กานุง หัวหน้าวงคณะอาเน๊าะซีงอ และ นายมะลาซิ สูโร๊ะ ผู้จัดการวงคณะอาเน๊าะซีงอ เล่าว่า ดิเกฮูลูคณะอาเน๊ะาซีงอ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 50 ปีมาแล้วปัจจุบันเป็นที่ 6 แล้วโดยมนาบอานูบี กานุง และนายมะลาซิ สูโร๊ะ ดูแล และได้เล่าประวัติดิเกฮูลูที่ทราบมากำเนิดที่บ้านกายูบอเกาะ ต. ตะโล๊ะฮาลอ อ.รามัน จังหวัดยะลา
นายอับดุลรอซะ สามะแซ หรือแบซะ เจ้าของ "บ้านตีเหล็กแบซะ" แห่งตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ผู้สืบทอดอาชีพช่างตีเหล็กแบบดั้งเดิมมาเป็นรุ่นที่ 3
อาชีพรับจ้างเก็บลูกหยีจากต้นหยียักษ์ เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความชำนาญและความสามารถเฉพาะตัวเป็นอย่างมาก ต้นหยีที่มีขนาดสูงใหญ่ การจะตัดกิ่งเพื่อเก็บลูกหยีลงมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว
แหล่งเรียนรู้สมัยเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสนา ในสมัยอดีตแหล่งเรียนรู้มันน้อย แหล่งเรียนรู้ของคนมุสลิมส่วนใหญ่ก็เป็นปอเนาะแบบเล็กๆ ไม่มีหลักสูตรแน่นอน นายอรรถพร อารีหทัยรัตน์ เล่าว่า สมัยเมื่อ ปี พ.ศ. 2496 นายอรรถพร มีโอกาสได้เรียนอัลกุรอาน จะเรียนที่บ้านของโต๊ะครูฮัจยีสุหลง อับดุลกอดอร์ โต๊ะมีนา นามสกุลเดิมของโต๊ะครูฮัจยีสุหลง คือ ท่านเป็นโต๊ะอิหม่ามที่มีชื่อเสียงในอดีต ท่านเปิดบ้านสอนความรู้เกี่ยวกับศาสนาทุกอย่าง ท่ามีความรู้ทางศาสนามากเพราะบิดาท่านได้ส่งไปเรียนศาสนาที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จนแตกฉานทั้งในเรื่องศาสนา ปรัชญา และภาษาทางมุสลิม โต๊ะครู ตั้งใจจะกลับมาเผยแพร่ศาสนาที่มณฑลปัตตานี
Search in title
Search in content
Exact matches only
Filter by Custom Post Type