เรื่องเล่าปัตตานี

เมืองกรือเซะ เป็นเมืองเก่าแก่ มีตำนานเล่าขานกันมานานว่าในอดีตเคยเป็นเมืองท่าทีมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก
ปัตตานีมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องทางการเมืองกับอยุธยาอยู่เนือง ๆ บางครั้งก็เป็นเมืองขึ้นและอิสระสลับกันไป
มัสยิดกรือเซะ ถือเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ที่สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านอาคารมัสยิด พร้อมเรื่องเล่าที่เป็นโศกนาฏกรรมของของน้องสาวที่ต้องการให้พี่ชายกลับบ้านเกิดเพื่อไปหาแม่ที่เมืองจีน
ขนมเต้าเปา ภาษาไทยเรียก ขนมเทียน คุณป้าเล่าว่าขนมเต้าเปาใช้แป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำเชื่อม คนให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ เมื่อต้องการนำมาใช้ก็นวดอีกครั้ง ส่วนไส้ขนม มีส่วนผสม ได้แก่ ถั่วเขียวซีก ถั่วลิสง น้ำตาล เกลือ พริกไทย หัวหอม นำมาโขลกแล้วผัดบนกระทะกวนจนเข้ากันดี ชิมรสชาติให้ได้ครบรส นำมาพักให้เย็น แล้วห่อด้วยใบตองที่เตรียมไว้ ใช้ใบตองกล้วยตานีสด วิธีการห่อของคุณป้าจะห่อแบบโบราณ ตอนห่อปั้นแป้งให้กลมใส่ไส้ด้านในแล้วใช้น้ำมันทาไม่ให้ติดใบตอง น้ำมันพืชหรือน้ำมันหมูก็ได้ ห่อเสร็จก็นำไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 45 นาที คุณป้าบอกว่าจะทำขนมเฉพาะช่วงตรุษจีนเท่านั้น และมีทำขายด้วย กิโลกรัมละ 200 บาท
ขนมข้าวต้มใบกะพ้อ ภาษามลายูเรียกว่า ตูป๊ะ คนไทยภาคใต้ มักเรียกว่า ข้าวต้มพวง ข้าวต้ม หรือ ต้ม ส่วนใหญ่คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะนิยมทำต้มรับประทานกันในช่วงเทศกาลงานบุญเดือนสิบของทุกปี เพื่อเป็นการไหว้ปู่ย่าตายาย และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนคนไทยอิสลามจะนิยมทำตูป๊ะเป็นอาหารสัญลักษณ์ของเทศกาลฮารีรายอ
ในอดีตปัตตานีมีศูนย์กลางอยู่ที่เขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ต่อมาเกิดแม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ชาวบ้านจึงย้ายที่อยู่จากยะรังมาอยู่ที่กรือเซะเพื่อทำการค้าขาย และกรือเซะมีการคมนาคมที่สะดวกเนื่องจากอยูใกล้แม่น้ำลำคลอง