นิทานมุขปฐะ
เป็นเพลงกล่อมเด็กที่สอดแทรกการสอนศาสนาให้เด็กๆ
นิทานมุขปาฐะ
นิทานการตั้งเมืองปัตตานี
คุณอรรถพร อารีหทัยรัตนะ เป็นผู้ที่อาศัยอยู่พื้นที่ถนนอาเนาะรู ได้ให้สัมภาษณ์ว่า สมัยก่อนคนส่วนใหญ่ในปัตตานีเป็นชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธจะมีอยู่บางส่วน ซึ่งคนจีนได้อพยพมาปัตตานีประมาณ 500 ปีมาแล้ว
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นที่เคารพบูชาของคนปัตตานี และคนทั่วไป มีรูปสลักอยู่ที่ศาลเจ้าเล่งจูเกียง และมีฮวงซุ้ยอยู่ที่ตำบลตันหยงลุโละ ไม่มีใครรู้ว่าฮวงซุ้ยจริงนั้นได้จมน้ำไปแล้วตั้งแต่อดีตที่บริเวณอ่าวปัตตานี
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนตะลุโบะในสมัยอดีต ซึ่งมีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยมุสลิม อาศัยอยู่ร่วมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ไม่มีการแบ่งแยกกัน มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ตระกูลคณานุรักษ์ เป็นตระกูลขุนนางมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 3 ได้ทำคุณประโยชน์มากมายให้แก่จังหวัดปัตตานี ต้นตระกูลคณานุรักษ์ คือ นายปุ้ย แซ่ตัน (หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน
นางสาวสมพิศม์ วรคามิน คือทายาท รุ่นที่ 2 เล่าประวัติโรงเรียนวรคามินอนุสรณ์ว่า คุณพ่อกับคุณแม่เป็นผู้ก่อนตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นมา ก่อน พ.ศ. ๒๔๘๐ เดิมโรงเรียนนี้ชื่อว่า “โรงเรียนวรคามินอนุบาล” เพราะแรกเริ่มมีแต่เด็กเล็กๆ มาเข้าเรียน ซึ่งในขณะนั้นคุณพ่อรับราชการเป็น รองอำมาตย์ตรีเชื้อ และคุณแม่นางสอางค์ วรคามิน เป็นแม่บ้าน
เมืองโบราณยะรัง คือเมืองลังกาสุกะในอดีต เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากกว่า 3000 ไร่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ของตำบลยะรัง และตำบลวัด มีอายุมากกว่า 1500 ปี อยู่ในยุคศตวรรษที่ 7-8