เรื่องเล่าปัตตานี

พิธีลุยน้ำ ลุยไฟ ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมื่อครั้งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากเมืองจีนเพื่อมาตามพี่ชายที่ปัตตานี และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้เข้าพิธีลุยน้ำ ลุยไฟ
เมืองโบราณยะรัง คือเมืองลังกาสุกะในอดีต เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากกว่า 3000 ไร่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ของตำบลยะรัง และตำบลวัด มีอายุมากกว่า 1500 ปี อยู่ในยุคศตวรรษที่ 7-8 เป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรม ของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
ผู้ที่มีความเชื่อ ความศรัทธาในองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ต่างพากันมาบนบานศาลกล่าว เพื่อขอให้ตนสมหวังในสิ่งที่ต้องการ
ในทุกๆ ปีจะมีเทศกาลสมโภชน์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งผู้คนหลั่งใหลเข้ามาร่วมเทศกาลเป็นจำนวนมาก เพราะมีความเลื่อมใสในองค์เจ้าแม่ เคยมีตำนานอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เจ้าแม่ที่ทำให้ผู้พบเจอเหตุการณ์ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์เจ้าแม่นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์จริงๆ
ตามรอยอดีต สู่แรงบันดาลใจ ลวดลายประยุกต์ ลีมาบาติก ออกแบบและผลิตโดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ผ้าจากการคลี่คลายลวดลาย รังสรรค์งานศิลป์ ผ้าถิ่นใต้ชายแดน ถ่ายทอดความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ ดำเนินการผลิต ณ ศูนย์หัตถศิลป์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าท้องถิ่นชายแดนใต้ ภายใต้โครงการ Pattani Heritage City มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
หากใครได้มาเยี่ยมเยือนปัตตานี เพื่อย้อนรอยเวลาทางประวัติศาสตร์ของคุณค่าเมือง จะขอแนะแนะอีกสถานที่ที่น่าสนใจ นั่นคือรอยซากปุราณกำแพงราชวังเก่าจะบังติกอ ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ตำนานยังถูกกล่าวขานมาว่า อดีตนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ “ตนกู มูฮำหมัด” ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงศ์กลันตัน มาเป็น “เจ้าเมืองปัตตานี”
ช่างทำทองเหลืองได้รับการถ่ายทอดมาจากกลันตัน ตรังกานู ประเทศมาเลเซีย เครื่องใช้ที่ทำจากทองเหลืองมี หม้อ กระทะ กระบอกทำขนมจีน กระโถนบ้วนน้ำหมาก และเครื่องใช้อื่น ๆ ในขณะนั้นถ้าบ้านใดใช้เครื่องทองเหลืองถือว่าบ้านนั้นมีฐานะดี
ธนาคารส้มโอปูโก หรือ Puko Bank ตั้งอยู่ที่ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งอำเภอยะรังได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรสวนส้มโอ และจัดตั้งธนาคารส้มโอปูโก ในปี พ.ศ. 2559 ก่อสร้างอาคาร Puko Bank แล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2563
เกษตรกรสวนส้มโอแปลงใหญ่ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโก ซึ่งเป็นส้มโอพันธุ์ดั้งเดิมของอำเภอยะรัง