กว่าจะเป็นเรือกอและ

แหล่งเรียนรู้ปัตตานีศึกษา
ปะเสยะวอ
สายบุรี

ชุมชนปะเสยะวอเป็นหมู่บ้านแห่งช่างศิลป์ ในการต่อเรือกอและ ด้วยฝีมือประณีตงดงามสอดประสานศิลปะไทยและมุสลิมได้อย่างกลมกลืน

นายอับดุลเลาะห์ บูละ เล่าว่า ตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อบรรพบุรุษของตนได้ทำเรือกอและขายเป็นอาชีพ ทำให้ตนเองเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 18 ปีจึงสามารถทำเรือกอและได้ด้วยตนเองนับถึงปัจจุบันก็ทำมาแล้วกว่า 40 ซึ่งการทำเรือต้องใช้ไม้ตะเคียนเพื่อความทนทานและแข็งแรงส่วนเรือกอและจำลองต้องใช้ต้นไม้โม่ ใช้ระยะเวลาการทำ 2 เดือนจึงเสร็จและทำเรือหางตัดต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือนในการทำซึ่งต้องทำพิธีไหว้ครูก่อนทำเรือหางตัด ร่วมถึงการออกแบบลวดลายซึ่งการออกแบบลวดลายทำตามจิตนาการของตนเอง คนส่วนใหญ่ที่มาสั่งทำเรือเพราะมีคนบอกปากต่อปากจนเป็นที่รู้จัก นายอับดุลเลาะห์ ได้บอกอีกว่า จุดเริ่มต้นของเรือหางตัดมาจากตำบลปะเสยะวอในการออกแบบในเรืองของการออกแบบ จะทนทาน เพราะสมัยก่อนอาชีพหลักของคนในหมู่บ้านจะทำเรือกอและประมาณ 42 คนทำเรือกอและซึ่งในช่วงนั้นไม้หายากและต้องใช้ไม้ประมาณ 12 เมตร ในการทำเรือกอและจึงหันมาทำเรือหางตัด หาไม้ตะเคียนทองบ้านบริเวณหมู่บ้านมาทำจนเป็นที่รู้จัก ซึ่งแต่เดิมที่ทำเรือกอและมีหัวทั้งสองข้างทำให้บรรจุของได้น้อยจึงหันมานิยมทำเรือหางตัดเนื่องจากบรรจุของได้มากกว่า หลังจากทำเรือเสร็จสมบูรณ์ได้มีการทำพิธีละหมาดเพื่อเพิ่มความบารอกัต (ขอความสันติสุข ความเอ็นดู เมตตาและสิริมงคลทรงประสบแก่ท่าน) จากนั้นได้มีการขอความร่วมมือของคนในหมู่บ้านประมาณ 40 คน มาลากเรือสู่แม่น้ำเพื่อส่งให้กับเจ้าของเรือ ซึ่งตนได้เลี้ยงกินน้ำชาแทนคำขอบคุณ

นายอานูซี บูละ เล่าว่า เมื่อพ.ศ. 2018 จังหวัดนราธิวาสพร้อมกันจัดการแข่งขันเรือกอและ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชการที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทุกปีได้จัดแข่งหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณปากแม่น้ำบางนรา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พ่อและตนเองก็ได้ไปแข่งขันเรือกอและ ณ พลับพลาที่ประทับหาดนราทัศน์ได้รับรางวัลที่ 3 ถือเป็นความประทับใจมิรู้ลืม

** หมายเหตุ : นายอานูซี บูละ และนายอับดุลเลาะห์ บูละ ก็ได้ทำเรือยอกองเพื่อการแข่งฝีพาย ซึ่งเรือยอกองทำกับไม้ตะเคียนทองเพื่อความทนทานและจะทำลวดลายพื้นบ้านในหมู่บ้านปะเสยะวอ

นายสมาแอ ตึงเงาะ เล่าว่า จุดเริ่มต้นในการทำเรือหางตัดหรือเรียกอีกชื่อว่าท้ายตัด เกิดจากการสังเกตจากบรรพบุรุษของตนทั้งปู่และตามีอาชีพทำเรือกอและแต่ไม้ที่ใช้ทำเรือหายากและต้องใช้ไม้ที่มีความยาวจำนวนมากตนจึงทำเรือหางตัดหรือเรือท้ายตัดแทนเพราะใช้ไม้ที่สั้นกว่าการทำเรือกอและ นายสมาแอได้บอกอีกว่าเรือกอและกับเรือหางตัดมีรูปแบบลักษณะที่มีความต่างที่เรือกอและจะมีหัวทั้งสองข้างแต่เรือหางตัดจะมีหัวแค่ข้างเดียว ข้างหลังจะมีรูปแบบที่ตัดจึงเป็นที่มาที่ของชื่อ “เรือหางตัด” การทำเรือหางตัดต้องใช้ไม้ตะเคียนทองเพราะจะมีความแข็งแรง ทนทาน ซึ่งตนได้ทำเรือหางตัดแค่คนเดียวกว่าจะเสร็จทั้งลำ จึงใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงแล้วเสร็จ
นายบือราเฮง มะมิง เล่าว่า จุดเริ่มต้นในการวาดลวดลายเรือหางตัดมาจากการที่ตนชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก ๆ จึงลองวาดลวดลายที่เรือลำเก่าๆ ทำให้ได้ฝึกฝนลองถูกลองผิดจนเกิดความชำนาญมากขึ้นเพราะตนเป็นคนชอบเรียนรู้และสังเกตจากคนที่มีความรู้ในด้านการออกแบบลวดลายซึ่งในสมัยก่อนนั้นจะทำลวดลายไทย จนเปลี่ยนมาทำลวดลายมลายูตามจิตนาการ ระยะเวลาที่ใช้ในการวาดลวดลายเรือหางตัดใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงแล้วเสร็จ

เรียบเรียงโดย อัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์