“ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง” จุดศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนแล้วยังเป็นสถานที่สำคัญที่ได้เก็บรักษากระถางธูปที่มีพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” ซึ่งกระถางธูปพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” นี้จะมีอายุครบ 200 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และทุกปีจะมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อสืบสานวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าของชาวอำเภอสายบุรี
“ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง” หรือ “ศาลเจ้าเล่าเอี๊ยะก๋งสันนิษฐานว่า การเรียกศาลเจ้าว่า “เล่าเอี๊ยะกง” เกิดจากการเรียกเทพเจ้าที่นับถือในบทบาทของนายกับบ่าวรับใช้จนทำให้คนรุ่นหลังคิดว่า “เล่าเอี๊ยะกง” คือ ชื่อศาลเจ้าของเทพเจ้าผู้ตรวจตราแทนฟ้า ตี๋อู้อ๋องเอีย ได้มีการไปอัญเชิญกระถางธูปและไฟจากเมืองจ่วนจิว ประเทศจีน ในรัชสมัยเต้ากวงปีนักษัตรมังกร ธาตุทอง ตรงกับปี พ.ศ. 2363 และตั้งชื่อว่า “จ่ายเฮงเกียง” ชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนจึงให้ความเคารพมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เป็นที่พึ่งพาทางจิตวิญญาณทั้งยังเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีกรรมตามลัทธิความเชื่อของชาวจีนโพ้นทะเลที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในเมืองสายบุรีและจังหวัดข้างเคียง “ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียง” นอกจากจะเป็นจุดศูนย์รวมความเชื่อแล้วความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนแล้วยังเป็นสถานที่สำคัญที่ได้เก็บรักษากระถางธูปที่มีพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” ซึ่งเป็นกระถางธูปพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระราชทานให้ในงานพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระปิยะมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองรัชกาลที่เคยเสด็จมาเยี่ยมเยือนศาลเจ้าแห่งนี้ในอดีตอีกด้วย ซึ่งกระถางธูปพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” นี้จะมีอายุครบ 200 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และทุกปีจะมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อสืบสานวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าของชาวอำเภอสายบุรี อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นำมาซึ่งความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ที่ดีงามของชุมชน ศาลเจ้าจ่ายเฮงเกียงมีพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดมาอย่างยาวนานหลายอย่าง เช่น การหามพระปักพื้น การหามเกี้ยวพระหายา หามพระลุยไฟ การลุยทะเล และการทรงเทพเจ้า
การเข้าทรงเทพเจ้านายวัฒนาชัย ธนาวัฒนากร เล่าว่า ในอดีตศาลเจ้าเฮงเกียงมีการเข้าทรงปีนบันไดมีดบริเวณลานปากน้ำมีการใช้มีดฟันร่างกายคนเข้าร่วมพิธีทั้งชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมต่างพากันมาเที่ยวงานประเพณีที่ศาลเจ้าได้จัดขึ้น อีกทั้งนายจ่วน จันทร์ทรัพย์ ได้เคยติดตามการหามเกี้ยวพระหายา เมื่อได้สมุนไพรที่เกี้ยวปัก ณ สถานที่แห่งนั้นมาต้มกิน ทำให้หายจากอาการป่วย ชื่อเสียงของเทพเจ้าตี่ฮู้อ๋องเอียแพร่ไปจังหวัดข้างเคียงจนผู้คนต่างพากันเรียกเทพเจ้าตี่ฮู้อ๋องเอียว่า “พระหมอสายบุรี” ชาวเมืองนราธิวาสจึงได้มาจุดธูปขอแกะสลักไม้จำลองไปสักการะที่ศาลเจ้าโก้วเล่งจี้จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ภายในศาลเจ้ายังมีของสำคัญอีกหลายอย่าง อาทิ กระถางธูปดีบุก ที่สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2436), ป้ายชื่อศาลเจ้า (พ.ศ. 2449), กลอนคู่ศาลเจ้า (พ.ศ. 2451), กระถางธูปหินสลัก (พ.ศ. 2454)
บ้านเรือนสถาปัตยกรรมจีนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของอารยธรรมจีนอันรุ่งโรจน์ในเมืองสายบุรี สถาปัตยกรรมจีนกับสถาปัตยกรรมฝ่ายตะวันตกและสถาปัตยกรรมมลายูรวมอยู่ในชุมชนย่านคนจีนในเมืองสายบุรีแห่งนี้ ลักษณะบ้านเรือน มีลีกษณะหนึ่งประตูสองหน้าต่างเปรียบเสมือนดวงตาและปากของมังกร กลางบ้านเปิดหลังคาโล่งรับลม และน้ำฝนเปรียบดั่งท้องมังกรคือ คติความเชื่อดั้งเดิมของศาสตร์ฮวงจุ้ยของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ใช้มังกรเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและความอุดมสมบูรณ์ของเจ้าของบ้าน ประตูหน้าบ้านมีลวดลายศิลปะแบบจีนที่ทำจากไม้ 2 แผ่นปิดเข้าหากัน โดยใช้กลอนไม้เข้าลิ้นในการล็อคประตูหน้าบ้านงานไม้เข้าฝักแบบมลายู
อีกทั้งรูปปูนปั้นหัวเสาหลังคาบ้านที่ถูกออกแบบโดยเอาลวดลายที่เป็นมงคลมาประดับประดาบ้าง หลังคาปั้นรูปตุ๊กตาหรือเทพคุ้มครองบ้านอีกด้วย กลุ่มนักสถาปัตย์เรียกเรือนกลุ่มนี้ว่า “จีนอกำปง” จากคติความเชื่อและสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมผสานลวดลายท้องถิ่นแบบมลายูและโครงสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนดั้งเดิมจึงถือเป็นย่านคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และมีเพียง 3 แห่งในโลก คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซียและอำเภอสายบุรี โดยชื่อเรียกจะแตกต่างกันไปมาเลเซียเรียกว่า “รูเมาะเปอรานากันจีนากลันตัน” อินโดนีเซียจะเรียกว่า “รูเมาะเกอบาย่า”