ดิเกฮูลูคณะบางปลาหมอ

ศิลปะวัฒนธรรม นำชมปัตตานี
รูสะมิแล
เมืองปัตตานี

ประวัติดิเกฮูลูคณะบางปลาหมอ
เดิมหัวหน้าคณะชื่อนายเจ๊ะนุ๊ อีแต อายุ 61 ปี ปัจจุบันเลิกทำการแสดงแล้ว เนื่องจากป่วยเป็นโรคอัมพาต มาได้ 3 ปีแล้ว ต่อมานายอาดำ อาแว ได้มาเป็นผู้จัดการคณะดิเกฮูลูบางปลาหมอ ได้เล่าว่าได้เริ่มสนใจดิเกฮูลูตั้งแต่ตอนอายุ 10 ขวบ โดยนำการปรบมือในคณะฯ ต่อมาได้หัดตีฉิ่ง และตีกลอง ตามลำดับ ในคณะบางปลาหมอมี สมาชิกทั้งหมด 18 คน

เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีการประกวดแข่งขันดิเกฮูลู โดยมีผุ้แสดงคณะดิเกฮูลู จากคณะบางปลาหมอไปร่วมแข่งขันด้วย โดยเป็นตัวแทน อำเภอเมืองปัตตานี ไปประกวดแข่งขันดิเกฮูลูในนามคณะดิเกฮูลูบุหงาตานี ชนะการประกวดได้รางวัลที่ 1 ได้เงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท เสื้อผ้าชุดในการแสดง มี 2 ชุด คือสีเขียว และสีชมพู สวมใส่สลับกัน ราคาค่าชุดมีราคาเป็นหมื่นบาท ดิเกฮูลูคณะนี้ จะแสดงตามงานต่างๆ ทั่วไปเช่น งานสมรส และงานของชุมชนต่างๆ งานมหรสพประจำปี เช่น งานศิลปวัฒนธรรมของมอ.วิทยาเขตปัตตานี และงานกาชาดของจังหวัดปัตตานี เป็นต้น

เครื่องดนตรีประกอบด้วย
1. รำมะนาใหญ่ 2. รำมะนาเล็ก 3. โหม่ง ฆ้องใหญ่ หรือ ฆง 4. ลูกแซ็ค 5. ฉิ่ง 6. ฉาบ 7. ขลุ่ย/ปี่ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้
เครื่องดนตรีเดิมเป็นของหัวหน้าวง ต่อมาทางอำเภอเมืองปัตตานีซื้อให้ คณะดิเกฮูลูบางปลาหมอได้รับรางวัลมา 6 ถ้วยรางวัล ปัจจุบันนี้ 3 ปี แล้วคณะฯไม่มีการแข่งขันแล้ว เนื่องจากพบปัญหาในเรื่องความโปร่งใส่ในการให้คะแนนของคณะกรรมการตัดสิน เนื่องจากถ้าเป็นกรรมการที่มาจากพื้นที่ที่มีคณะดิเกฮูลูคณะในพื้นที่ของตนมาแสดงด้วย กรรมการจะไม่ค่อยมีความโปร่งใสในการตัดสินให้คะแนนข้อเสนอแนะของผู้เล่าเสนอว่า จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะเสนอชื่อกรรมการกลางที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในคณะดิเกฮูลูในพื้นที่มีการแข่งขัน ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท/ครั้ง ระยะเวลาในการแสดงแต่ละครั้ง ขึ้นกับค่าจ้างในแต่ละครั้งของการแสดง ครึ่งชั่วโมง ร้อง 1 เพลง /1 ชั่วโมง ร้อง 3 เพลง 2 ชั่วโมง 4-5 เพลง
ขั้นตอนการแสดง
1. เพลงโหมโรง เรียกว่าตาโบ๊ะ ตีกลองอย่างเดียว เรียกผู้ชม แสดงประมาณ 5 นาที
2. เพลงปาตง (ปันตน) ปันตนคือ ฉันทลักษณ์ประเภทหนึ่งของบทกวีภาษามลายู เพลงว่าด้วยกลอนสด ผู้ร้องต้องมีไวพริบในการโต้ตอบกลอนสด
โดยมีหัวหน้าคณะร้องนำ และมีลูกคู่ร้องตาม โดยจะว่ากลอนสดตามหัวข้อที่กำหนด เช่น หัวข้อ ในหลวงราชการที่ 9 หัว หัวข้อศิลปวัฒนธรรม แสดงประมาณ 7-10 นาที
3. ขับร้องเพลงสมัยใหม่ จะเลือกร้องเพลงที่สอดคล้องกับงานที่ร่วมแสดง จะร้องกี่เพลง ขึ้นอยู่กับเวลาที่กำหนดในแต่ละครั้งของการแสดง
4. เพลงงาโฆ๊ะ หรือ เพลงกาโฆ๊ะ จะมีเพลงงาโฆ๊ะแยกี
5. ร้องเพลงตามสมัยนิยม
6. เพลงวาบูแล เป็นเพลงบอกลา เพลงกล่าวอำลาผู้ชม และกล่าวอำลากับคณะอีกฝ่าย เพื่อขอโทษ ถ้าหากการแสดงมีสิ่งใดที่บกพร่องและมีความผิดพลาด ไม่ได้เจตนา ก็ต้องขออภัยผู้ชม ณ ที่นี้ด้วย เพราะเป็นการแสดงสด โอกาสหน้าถ้ายังมีชีวิตอยู่เราจะได้พบกันอีก เป็นการทิ้งท้ายของการแสดงในแต่ละครั้ง และจบการแสดงในเวทีนั้นได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับการแสดงในแต่ละครั้ง
จุดเด่นคณะดิเกฮูลู คณะบางปลาหมอ คือมีผู้ชมที่ติดตามการแสดงของคณะบางปลาหมอ และการได้รับรางวัลในการประกวดการแข่งขันดิเกฮูลู
นอกจากนี้ยังมีการแต่งเพลงที่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังเป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจ เมื่อผู้เล่าได้ติดตามข่าวในทุกๆวัน ในช่วงเวลาทำงานตอนเช้าๆ ขณะขับรถเก็บขยะ ทำให้ปิ้งขึ้นมาว่า ต้องแต่งเพลงร้องในดิเกฮูลู เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ เล่าว่าช่วงที่เกิดเหตุการณ์เด็ก 13 คนติดอยู่ในถ้ำหลวงที่จังหวัดเชียงราย ทำให้เมื่อหลายคนฟังเพลงดิเกฮูลูเพลงนี้ชอบและดังไปทั่วเมืองปัตตานี เพลงนี้ มีชื่อว่า Lagu 13 orang แต่งเนื้อร้องและขับร้องโดยแบแด คณะดิเกฮูลูคณะบางปลาหมอ สามารถติดตามรับชมรับฟังได้จาก Utube

การแสดงศิลปะพื้นบ้านดิเกฮูลู คณะบางปลาหมอ

การแสดงศิลปะพื้นบ้านดิเกฮูลู คณะบางปลาหมอ

การร้องเพลงจากนักร้องดิเกฮูลู คณะบางปลาหมอ กล่าวถึง 13 ชีวิตเด็กติดถ้ำ (ภาษายาวี)

การร้องเพลงจากนักร้องดิเกฮูลู คณะบางปลาหมอ กล่าวถึง 13 ชีวิตเด็กติดถ้ำ (ภาษายาวี)

เรียบเรียงโดย นริศรา เฮมเบีย