ต้นตระกูลคณานุรักษ์

บุคคลคุณค่าปัตตานี
อาเนาะรู
เมืองปัตตานี

ตระกูลคณานุรักษ์
ตระกูลคณานุรักษ์ เป็นตระกูลขุนนางมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 3 ได้ทำคุณประโยชน์มากมายให้แก่จังหวัดปัตตานี ต้นตระกูลคณานุรักษ์ คือ นายปุ้ย แซ่ตัน (หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน ด้วยสืบทราบว่าพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน คือ พระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกอพยพมาประเทศไทยโดยทางเรือ ระหว่างเดินทางได้แวะผ่านประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์ จนมาถึงประเทศไทยในสมัยรัชการที่ 3 พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367) ซึ่งไม่ใช่จีนฮกเกี้ยน จึงได้เดินทางต่อมายังเมืองสงขลา ด้วยสืบทราบว่าเจ้าเมืองสงขลาเป็นจีนฮกเกี้ยน และได้มาค้าขาย ทำฟาร์มหมู อยู่ที่สงขลา จนในปี พ.ศ. 2381 เกิดเหตุการณ์กบฏเมืองไทรบุรี นายบุ้ยได้รวบรวมสมัครพรรคพวกขอรับอาสาเจ้าเมืองสงขลาปราบกบฏไทรบุรี ปราบสำเร็จ ได้รับการแต่งตั้งเป็น “หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง” และให้ย้ายมาอยู่ที่ปัตตานี ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บภาษีอากรในมณฑลปัตตานี ประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมอยู่ด้วยกัน ต่อมาได้รับสัมปทานเหมืองแร่ดีบุก ในพื้นที่ยะลา หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง อาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 27 บริเวณพื้นที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวปัจจุบัน อันเป็นที่ดินพระราชทาน มีชาวไทย จีน มุสลิม อาศัยอยู่รวมกัน มีการทำการค้าขายกัน เป็นพื้นที่ที่เรียกว่า ตลาดจีน หรือ ตลาดกือดาจีนอ ที่คนมุสลิมเรียกกัน หลวงสำเร็จกิจกรจางวางเป็นที่รักของทั้งคนไทย จีน มุสลิม รวมทั้งเจ้าเมืองปัตตานีที่สนิทสนมเป็นเพื่อนกัน ด้วยความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของท่าน ต่อมาเมื่อท่านเสียชีวิตลูกชายคนโต นายจูเม้ง ตันธนาวัฒน์ (หลวงสุนทรสิทธิโลหะ) ได้ทำเหมืองแร่ต่อ ส่งแร่ไปขายที่ปีนัง แต่อายุท่านยืน ด้วยไม่สบายเสียชีวิตตอนอายุประมาณ 30 กว่าๆ ในสมัยรัชการที่ 4 หลังจากนั้นน้องชาย คือ นายจูไล ตันธนาวัฒน์ (พระจีนคณานุรักษ์) ขึ้นมาแทน ชาวมณฑลปัตตานีเรียกว่า กัปตัลจีน ด้วยมีเรือสำเภาเยอะ ทำกิจการค้าต่างๆ ในสมัยนี้รัชกาลที่ 5 เสด็จมณฑลปัตตานีเป็นครั้งแรก นายจูไลเป็นผู้เตรียมการรับเสด็จ กับพี่สาวนางเม้งจู อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 3 แต่งงานกับตระกูล โกวิทยา รัชการที่ 5 เสด็จศาลเจ้า ได้มีการปูผ้าขาวจากท่าน้ำไปหน้าศาลเจ้าและถึงวัดตานีนรสโมสร (วัดบางน้ำจืด) เวลารัชการที่ 5 เสด็จดูสินค้าที่ชาวบ้านนำมาวางขาย รัชกาลที่ 5 มองดูสินค้าอะไรก็ตามนางเม่งจู และนายจูโลซื้อถวายทุกอย่างจนเต็มลำเรือ รัชการที่ 5 เสด็จไปยังวัดตานีนรสโมสร (วัดบางน้ำจืด) เห็นว่าพระอุโบสถทรุดโทรมจึงได้พระราชทานเงินให้นายนายจูไลนำไปบูรณะวัด และแต่งตั้งให้เป็น “หลวงจีนคณารักษ์” เป็นแม่กองคุมงานบูรณะวัดตานีนรสโมสร (วัดบางน้ำจืด ชาวบ้านเรียกวัดกลาง) และวัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) จนสำเร็จเรียบร้อยมีการเฉลิมฉลอง รัชการที่ 5 เสด็จประพาสครั้งที่สอง ได้เอาธงแดงติดจากท่าน้ำไปศาลเจ้าและไปถึงวังจะบังติกอ (ภาพธงแดง/ภาพถ่ายตอน ร.5 เสด็จ เอารูปที่เจี๊ยบ ภาพป้ายร้านแรกของปัตตานี) หลวงจีนคณานุรักษ์เป็นบุคคลสำคัญในการบำรุงรักษาศาสนสถานเมืองปัตตานี ต่อมาได้พัฒนาวัดนิกรชนาราม (วัดหัวตลาด) จากก่อนเป็นเพียงเมรุเผาศพ เป็นป่าช้า เมื่อมีการเสียชีวิตจะนำมาเก็บไว้ที่ธรรมศาลา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัวให้ชาวบ้านใช้ร่วมกัน บ้านเลขที่ 1 เป็นบ้านพี่สาวหลวงจีนคณานุรักษ์ คือ นางเม้งจู นอกจากนี้หลวงจีนคณานุกรักษ์ได้บูรณะศาลเจ้าจากศาลเจ้าเล็กๆ จนเป็นขนาดใหญ่เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนอย่างมาก มีตำนานเล่าว่า สมัยนั้น พระจอซูกง (องค์ดำ หรือพระหมอ) ได้ลอยมาตามลำน้ำ โดยสันนิษฐานว่าน่าจะมีคนนำเข้ามาจากจีน โดยล่องเรือมาแล้วเกิดเรือล่ม องค์พระเลยตกน้ำแล้วลอยมา มีคนพบคิดว่าเป็นท่อนไม้เอาขึ้นจากน้ำจะนำมาทำเป็นฟืน แต่เมื่อนำขึ้นมาเห็นว่าเป็นองค์พระจึงนำมาให้หลวงจีนคณานุรักษ์ หลวงจีนคณานุรักษ์จึงเชิญมาอยู่ที่ศาลเจ้า ผู้คนเมื่อไม่สบายก็มาขอบนบานพระจอซูกงให้หายจากเจ็บป่วย ต่อมาหลวงจีนคณานุรักษ์ได้เชิญองค์สลักเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจาก กรือแซะมาอยู่ที่ศาลเจ้า ด้วยครั้งเมือหลวงจีนไม่สบายได้บนว่าหากหายจะเชิญองค์สะลักเจ้าแม่มาอยู่ที่ศาลเจ้าด้วย ปัจจุบันศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของปัตตานี ผู้คนมากมายต่างเคารพศรัทธา มาบนบานขอให้สมหวังในเรื่องที่ต้องการ อย่างเจ้าของที่ดินเมืองกาญจนบุรี บนขอให้ขายที่ดินได้ แล้วขายได้จำทำบุญ ในไม่นานก็ขายได้จริงๆ จึงนำเงินมาทำบุญ 1,000,000 บาท คุณชูโชติ เกิดอุบัติเหตุมีองค์เจ้าแม่อยู่ในรถ รถตกคูองค์เจ้าแม่กระเด็นมาอยู่บนตักไม่เป็นอะไรเลยในขณะที่รถพังหมดทั้งคัน
ตระกูลคณานุรักษ์เกิดมากจากในสมัยรัชการที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศพระราชบัญญัตินามสกุล กำหนดให้มีการใช้นามสกุล จึงได้เอาชื่อหลวงจีนคณานุรักษ์มาเป็นนามสกุล และปัจจุบันเหล่าเครือญาติ คณานุรักษ์อยู่ที่กรุงเทพมหานคร

เรียบเรียงโดย นางสาวมนทิรา อินทร์แก้ว