วังเจ้าเมืองโบราณ : สายบุรี

โบราณคดีและประวัติศาสตร์
ตะลุบัน
สายบุรี

เมืองสายบุรีเดิม ตั้งอยู่ที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส การตั้งเมืองสมัยก่อน จะตั้งริมแม่น้ำพอแม่น้ำตื้นเขินการคมนาคมไม่สะดวก เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ 3 ก็ย้ายเมืองมาอยู่ที่อำเภอไม้แก่น ตัววังตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำกอตอฝั่งซ้าย ช่วงหลังแม่น้ำเกิดตื้นเขิน เจ้าเมืองสายบุรีก็ย้ายมาตั้งเมืองอยู่ที่ซาลิงดงบารู ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรีปัจจุบัน

เมืองสายบุรีเดิม ตั้งอยู่ที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส การตั้งเมืองสมัยก่อน จะตั้งริมแม่น้ำพอแม่น้ำตื้นเขินการคมนาคมไม่สะดวก เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ 3 ก็ย้ายเมืองมาอยู่ที่อำเภอไม้แก่น ตัววังตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำกอตอฝั่งซ้าย ช่วงหลังแม่น้ำเกิดตื้นเขิน เจ้าเมืองสายบุรีก็ย้ายมาตั้งเมืองอยู่ที่ซาลิงดงบารู ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรีปัจจุบัน ตัววัง พระยาสุริยะสุนทรฯ ท่านได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2428 ตอนที่ท่านสร้างวัง ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิเศษวันสา ในสมัยรัชกาลที่ 5

ช่างที่สร้างวัง : เนื่องจากพระยาสุริยะสุนทรฯ ท่านมีมารดาเป็นชาวชวา การสร้างวังของท่านจึงใช้ช่างชาวชวาเป็นส่วนใหญ่ มีช่างพื้นถิ่นบ้างเล็กน้อย

สถาปัตยกรรม/ตัววัง : ตัววังจะเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง สร้างด้วยไม้ตะเคียนเป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยาหรือทรงลีมะห์เป็นเรือนไทยมุสลิมที่รับอิทธิพลศิลปกรรมของชาวชวา ผสมผสานกับศิลปะของไทย ซึ่งตัววังเดิมจะมีลักษณะเป็นตัวยู ตอนหลังได้รื้อออก ปัจจุบันจึงมีลักษณะเป็นรูปตัวแอลเนื่องจากพระยาสุริยะสุนทรฯ ท่านมีมารดาเป็นชาวชวา ลักษณะของวังจึงสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะผสมผสานของชวาและศิลปะของไทย

ภาษา : ภาษาที่ใช้ภายในวัง บางคำจะแตกต่างจากภาษามลายูทั่วไป เป็นภาษาที่มาจากรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย เนื่องจากราชินีกลันตันเป็นลูกหลานของวัง แต่ปัจจุบันลูกหลานไม่ค่อยได้ใช้ [ดูเพิ่มเติมที่ภาษาที่ใช้ภายในวัง]

วังพิพิธภักดี : ลูกหลานเจ้าเมืองผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองโดยตรงกล่าวว่า ความจริงวังพิพิธภักดี ไม่ใช่วัง แต่เป็นเรือนหอของหลานเจ้าเมืองสายบุรีคือ ตนกูอับดุลมุตอเล็บ ซึ่งได้แต่งงานกับลูกเจ้าเมืองยะหริ่ง จึงสร้างเรือนหอแยกออกมาเป็นส่วนตัว แต่ที่เรียกวังพิพิธภักดี เพราะเป็นการให้เกียรติบุคคลสำคัญของวังยะหริ่งและวังสายบุรี เลยเรียกว่าวังพิพิธภักดี

ภาษาที่ใช้ภายในวัง บางคำจะแตกต่างจากภาษามลายูทั่วไป เป็นภาษาที่มาจากรัฐกลันตัน เนื่องจากราชินีกลันตันเป็นลูกหลานของวัง แต่ปัจจุบันลูกหลานไม่ค่อยได้ใช้

ภาษาไทย มลายูทั่วไป คำราชาศัพท์ที่ใช้ภายในวัง
คำว่า ย่า , ยาย ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า เมาะ , แมะ ภาษาภายในวังใช้คำว่า นีร์นอร์ , โต๊ะกู
คำว่า บิดา ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า อาเยาะ , อาบะห์ , ปาปา , บูยา ภาษาภายในวังใช้คำว่า อาเยาะกู , กู
คำว่า มารดา ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า มามา , อุมมี , เจ๊ะ , ภาษาภายในวังใช้คำว่า บอร์นอร์
คำว่า พี่สาว ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า กากะ , กะแว ภาษาภายในวังใช้คำว่า การ์นอร์
คำว่า ไม่ชอบหรือไม่เอา ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า เตาะเซ ภาษาภายในวังใช้คำว่า มอฮง (mohong)
คำว่า รับประทาน ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า มาแก ภาษาภายในวังใช้คำว่า ซาตับ (satab)
คำว่า อาบน้ำ ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า มานี ภาษาภายในวังใช้คำว่า ซีแฆ (sighea)
คำว่า ร้องไห้ ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า ตีเยาะ ภาษาภายในวังใช้คำว่า นางิส (menangis)
คำว่า นอน ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า ตีโด ภาษาภายในวังใช้คำว่า วาดู (wadu)
คำว่า หน้าต่าง ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า ปีตูนาแต ภาษาภายในวังใช้คำว่า ยือแนลอ (jeneala)
คำว่า สวมใส่ ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า ปากา ภาษาภายในวังใช้คำว่า ปากัย (pakai)
คำว่า พูด ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า แกแจะ ภาษาภายในวังใช้คำว่า จากัฟ (cakap)
คำว่า เดิน ภาษามลายูทั่วไปใช้คำว่า ยาแล ภาษาภายในวังใช้คำว่า วากัฟ (wakaf)

การเรียกเจ้าเมืองใช้คำว่า ยอ (nya) และการขานรับเมื่อมีคนเรียกใช้คำว่า กู

เรียบเรียงโดย อัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์